*-*

เลขเจ้าแม่ตะเคียน

ซื้อลอตเตอรี่ ซื้อหวยรัฐบาล ซื้อหวยบนดิน กันน่ะครับห้ามเล่นหวยใต้ดิน



หวยงวดที่ 1 ก.พ 2553















http://lottary.blogspot.com/2009/05/blog-post_6861.html
เลขเด็ด เลขดัง เลขอาจารย์ท่านอื่นๆ






เลขเจ้าแม่ตะเคียน




ศาลเจ้าเแม่ตะเคียน ตั้งอยู่ที่วัดพราหมณี ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก มีนักเสี่ยงโชคถูกรางวัลที่หนึ่งและเลขท้ายสองตัวกันหลายงวด จึงได้มีนักเสี่ยงโชคนำชุดไทยมาถวายแก้บนจนเต็มโคนต้น หนูอยากจะแนะนำมากๆว่าเลขศาลเจ้าแม่ตะเคียนนั้น เข้าเกือบทุกงวดค่ะ แต่จะมีหลายตัวหน่อยน่ะค่ะ ช่วยกันเลือกดูดีๆน่ะค่ะ หนูรับลองเลยว่าหนูจะนำเลขเจ้าเแม่ตะเคียนมาแบ่งปันแด่พ่อ แม่ พี่ น้อง ทุกงวดเลยจ้าๆๆๆๆๆๆๆ

เลขเด็ด อาจารย์ดัง เลขดัง อาจารย์เด็ด รวมหวยซอง รวมหวยซอง หวยดัง หวยเด็ด รวบรวบเลขเด็ด เลขดัง เลขอาจารย์หนู เลขอาจารย์เสือ เลขศศิมา เลขหลวงพ่อปากแดง เลขม้าสีหมอก เลขปลดหนี้ เลขเจ้าแม่ตะเคียน เลขติ๊ก ฮีโร่ และเลขดังอื่นๆ อีกมากมายเลยครับ

เลขหลวงพ่อปากแดง

หวยงวดที่ 1 ก.พ 2553












เลขอาจารย์หนู













เลขหลวงพ่อปากแดง




หลวงพ่อปากแดง เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวนครนายก อยู่ภายในอุโบสถวัดพราหมณี ต.สาริกา อ.เมืองนครนายก ซึ่งเป็นที่เดียวกับที่ตั้งศาลเจ้าปแม่ตะเคียน ซึ่งองค์พระจะมีริมฝีปากที่แดง ซึ่งหลวงพ่อปากแดงนั้นท่านศักดิ์สิทธิ์มากๆเลยค่ะ มีคนมาขอหวยท่านและก็ถูกหวยมาหลายงวดแล้วค่ะ เชิญ พ่อ แม่ พี่ น้อง พิจารณาคัดเลขกันให้ดีๆน่ะค่ะ จะได้มีโชคลาภกันทั่วหน้าค่ะ

เลขเด็ด อาจารย์ดัง เลขดัง อาจารย์เด็ด รวมหวยซอง รวมหวยซอง หวยดัง หวยเด็ด รวบรวบเลขเด็ด เลขดัง เลขอาจารย์หนู เลขอาจารย์เสือ เลขศศิมา เลขหลวงพ่อปากแดง เลขม้าสีหมอก เลขปลดหนี้ เลขเจ้าแม่ตะเคียน เลขติ๊ก ฮีโร่ และเลขดังอื่นๆ อีกมากมายเลยครับ



เลขเด็ดๆ เลขติ๊ก ฮีโร่


หวยงวดที่ 1 ก.พ 2553
เลขติ๊ก ฮีโร่



 











 

เลข อ.เสือ และเลขดัง
เลขติ๊ก ฮีโร่
ติ๊ก ฮีโร่ นั้นให้เลขแม่นมากๆเลยค่ะ ไม่เชื่อลองไปหาดูงวดก่อนได้เลยค่ะ ส่วนมากก็จะเข้าเกือบทุกงวด เชิญพ่อ แม่ พี่ น้อง คัดเลือกเลขสวยๆ ดีๆ เด็ดๆ ได้เลยค่ะ ร่ำรวยๆค่ะ..

เลขเด็ด อาจารย์ดัง เลขดัง อาจารย์เด็ด รวมหวยซอง รวมหวยซอง หวยดัง หวยเด็ด รวบรวบเลขเด็ด เลขดัง เลขอาจารย์หนู เลขอาจารย์เสือ เลขศศิมา เลขหลวงพ่อปากแดง เลขม้าสีหมอก เลขปลดหนี้ เลขเจ้าแม่ตะเคียน เลขติ๊ก ฮีโร่ และเลขดังอื่นๆ อีกมากมายเลยครับ

เลขเด็ดๆ เลขอ.บัว






หวยงวดที่ 1 ก.พ 2553




เลข อ.หนู และท่านอื่น




เลขศศิมา
ทีมงานศศิมา หรือ อาจารย์ศศิมาและทีมงานก็ให้เลขแม่นมากๆ เหมือนกันค่ะ เชิญเลือกชม หาเลขโดนใจได้เลยค่ะ

เลขเด็ด อาจารย์ดัง เลขดัง อาจารย์เด็ด รวมหวยซอง รวมหวยซอง หวยดัง หวยเด็ด รวบรวบเลขเด็ด เลขดัง เลขอาจารย์หนู เลขอาจารย์เสือ เลขศศิมา เลขหลวงพ่อปากแดง เลขม้าสีหมอก เลขปลดหนี้ เลขเจ้าแม่ตะเคียน เลขติ๊ก ฮีโร่ เลขอาจารย์จอมทัพ เลขอาจารย์จอมพล เลขฟันธง และเลขดังอื่นๆ อีกมากมายเลยครับ

แสดงความคิดเห็นได้ทุกคนเลยค่ะ
ต้องการอยากได้เลขอาจารย์ไหนแนะนำเข้ามาเลยค่ะ..มีอะไรก็ฝากไว้ได้เลยค่ะ

เลขเด็ดๆ เลขอาจารย์หนู


ซื้อ ลอตเตอรี่ ซื้อ หวยรัฐบาล ซื้อ หวยบนดิน กันน่ะครับห้ามเล่นหวยใต้ดินน่ะครับ อิอิ


หวยงวดที่ 1 ก.พ 2553





















เลข อ.เสือ และท่านอื่นๆ





เลข อ.หูน




อาจารย์หนู ท่านให้เลขแม่นมากๆ เลยค่ะ หนูขอจัดอันดับให้ท่านเป็นอันดับหนึ่งเลยค่ะ เพราะดูจากสถิตินั้น เลขของอาจารย์หนูจะเข้าเกือบทุกงวดเลยค่ะ ทั้งเลขล่าง - เลขบน นี้คือสุดยอดของหวยซองหรือหวยซองอันดับหนึ่งค่ะ หนูเองก็ถูกหวย โดยซื้อเลขของอาจารย์หนูบ่อยมากๆเลยค่ะ เชิญคัดเลือกเลข ได้เลยค่ะ ร่ำรวยๆๆๆๆๆๆค่ะ

เลขเด็ด อาจารย์ดัง เลขดัง อาจารย์เด็ด รวมหวยซอง รวมหวยซอง หวยดัง หวยเด็ด รวบรวบเลขเด็ด เลขดัง เลขอาจารย์หนู เลขอาจารย์เสือ เลขศศิมา เลขหลวงพ่อปากแดง เลขม้าสีหมอก เลขปลดหนี้ เลขเจ้าแม่ตะเคียน เลขติ๊ก ฮีโร่ เลขอาจารย์จอมทัพ เลขอาจารย์จอมพล เลขฟันธง และเลขดังอื่นๆ อีกมากมายเลยครับ

แสดงความคิดเห็นได้ทุกคนเลยค่ะ



ต้องการอยากได้เลขอาจารย์ไหนแนะนำเข้ามาเลยค่ะ..มีอะไรก็ฝากไว้ได้เลยค่ะ

เลขเด็ดๆ เลขอาจารย์เสือ


ซื้อลอตเตอรี่ ซื้อหวยรัฐบาล ซื้อหวยบนดิน กันน่ะครับห้ามเล่นหวยใต้ดินน่ะครับ อิอิ


หวยงวดที่ 1 ก.พ 2553



























เลข ติ๊ก

เลขเจ้าแม่ตะเคียน
http://lottary.blogspot.com/2009/05/blog-post_14.html
เลขหลวงพ่อปากแดง

ม้าสีหมอก

เลขอาจารย์จอมพล
http://lottary.blogspot.com/2009/09/blog-post_13.html

เลขอาจารย์จอมทัพ
เลขเด็ด อาจารย์ดัง เลขดัง อาจารย์เด็ด รวมหวยซอง รวมหวยซอง หวยดัง หวยเด็ด รวบรวบเลขเด็ด เลขดัง เลขอาจารย์หนู เลขอาจารย์เสือ เลขศศิมา เลขหลวงพ่อปากแดง เลขม้าสีหมอก เลขปลดหนี้ เลขเจ้าแม่ตะเคียน เลขติ๊ก ฮีโร่ เลขอาจารย์จอมทัพ เลขอาจารย์จอมพล เลขฟันธง และเลขดังอื่นๆ อีกมากมายเลยครับ

แสดงความคิดเห็นได้ทุกคนเลยค่ะ

ต้องการอยากได้เลขอาจารย์ไหนแนะนำเข้ามาเลยค่ะ..มีอะไรก็ฝากไว้ได้เลยค่ะ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Material Requirement Planning

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Material Requirement Planning
MRP เป็นการวางแผนความต้องการวัสดุ ทั้งส่วนที่โรงงานผลิตเองหรือส่วนที่ซื้อมาจากภายนอก
ในส่วนที่ผลิตขึ้นเอง เราจะเรียกว่า งาน (Jobs) ในขณะที่ซื้อมาจากภายนอกจะเรียกว่า ชิ้นส่วนที่ซื้อ
(Purchase orders) งานหลักของการทำ MRP คือ การจัดตารางการผลิตงาน และชิ้นส่วนที่ต้องซื้อ
(Purchase orders) เพื่อที่จะให้เพียงพอกับการความต้องการใช้วัสดุเหล่านี้ และทันเวลาตามความ
ต้องการของลูกค้า
MRP จะเกี่ยวข้องกับปริมาณและเวลา โดยที่ระบบ MRP จะต้องกำหนดปริมาณการผลิตของ
ชิ้นส่วนประกอบทุก ๆ อย่างที่มีอยู่ในตัวผลิตภัณฑ์ รวมถึงปริมาณการสั่งซื้อชิ้นส่วนจากภายนอก ปริมาณ
การสั่งซื้อวัตถุดิบ เพื่อที่จะทำให้ส่งมอบสินค้าได้ทันตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ
ในระบบ MRP ในเวลาจะถูกแบ่งออกเป็นช่วง ๆ ซึ่งจะทำใหต้ ้องแบ่งปริมาณความต้องการ
สินค้าออกเป็นช่วง ๆ ตามเวลาด้วยเช่นกัน ปริมาณความต้องการสินค้าในแต่ละช่วงนั้น จะสมมุติว่าเป็น
ปริมาณความต้องการ ณ เวลาเริ่มต้นของช่วงเวลา เช่น ในกรณีที่เราแบ่งเวลาเป็น สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 5
มีความต้องการสินค้า 50 หน่วย จะสมมติว่า ปริมาณความต้องการสินค้า 50 หน่วยนี้ก็จะเกิดขึ้นในช่วง
เริ่มต้นของสัปดาห์ที่ 5
ระบบ MRP มักจะใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีชิ้นส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ในที่นี้ เราจะเรียกว่า Finished
product หรือ End items ส่วนชิ้นส่วนประกอบ จะเรียกว่า Lower – level items ความสัมพันธ์ระหว่าง
End items และ Lower – level items เรียกว่า บัญชีรายชื่อวัสดุ หรือ Bill of material (BOM) ดังแสดงใน
รูปที่ 2.1 เพื่อความสะดวกและง่ายในการทำงานในระบบ MRP ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นใน BOM จะมีรหัสหรือ
Low-level Code (LLC) รหัสนี้จะเป็นตัวบ่งบอกถึงระดับต่าสุดของชิ้นส่วนที่เกิดขึ้นใน BOM
กำหนดให้ End – items มี LLC คือศูนย์ ชิ้นส่วนประกอบที่จะถูกนำมาใช้เพื่อประกอบมี LLC เป็น 1
ในขณะที่ ชิ้นส่วนประกอบที่จะถูกนำมาใช้เพื่อประกอบกันเป็นชิ้นส่วนที่มี LLC = 1 จะมีค่า LLC = 2
เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่นในรูปที่ 2.1 A และ B เป็น End items ดังนั้นมี LLC = 0 ในขณะที่ part 100 จะมี
ค่า LLC = 1 เพราะถูกนำมาใช้ในการสร้าง A แต่เนื่องจาก End items B part 100 จะมี LLC = 2
ดังนั้นในรูป 2.2 part 100 ต้องมี LLC =2 (เพราะมีระดับต่าสุด)

ทฤษฎีสี (Color Theory)

ทฤษฎีสี (Color Theory)
2.5.1 คุณลักษณะเฉพาะของสี
2.5.1.1 วรรณะ (Hue)
วรรณะ คือ คุณสมบัติที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสีว่าเป็นสีใดสีหนึ่ง เช่น สีหนึ่งแตกต่าง
จากสีเขียว หรือสีม่วงแตกต่างไปจากสีเหลือง โดยไม่คำนึงถึงน้ำหนักอ่อนแก่และความเข้มของสีแต่
ประการใด เพราะความเป็นวรรณะ (Hue) จะคงเดิมเสมอ เช่น สีชมพูคือสีหนึ่งของสีแดง เป็นต้น ดังแสดง
ดังรูปที่ 2.14 สี แยกออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
- Chromatic Colors คือ สีที่มีวรรณะของสี (Hue) ผสมอยู่ สามารถจำแนกออกเป็น สีเขียว
สีแดง สีเหลือง ฯลฯ ได้แน่ชัด
- Achromatic Colors คือ สีที่ไม่มีวรรณะของสี (Hue) ผสมอยู่ สามารถจำแนกเป็นน้ำหนักอ่อน
เข้ม ได้แก่ สีขาว สีเทา และสีดำ
2.5.1.2 ความเข้มของสี ( Chrome หรือ Intensity หรือ Saturation )
ความเข้มของสี คือคุณสมบัติที่เกี่ยวความสด ( Brightness ) เช่น สีแดงเป็นสีที่สดที่สุด หรือความ
หม่น ( Dullness ) ที่เกิดขึ้นเพราะมีการผสมกับสีตรงข้าม ( Contrast ) ทำให้ความสดใสของน้อยลง เช่น สี
ม่วงเจือลงในสีเหลืองเป็นต้น
2.5.1.3 คุณค่าของสี (Tonal Value)
คุณค่าของสี คือ คุณสมบัติที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำหนักอ่อนแก่ ( Lightness Darkness ) เพื่อใช้
เปรียบเทียบค่าของสีที่แตกต่างกันของสีทุกสี เช่น สีชมพูคือน้ำหนักอ่อนของสีแดง สีน้ำตาลคือน้ำหนักแก่
ของสีส้ม สีครีมคือน้ำหนักอ่อนของสีเหลือง ฯลฯ โดยมีสีขาวเป็นสีอ่อนที่สุด สีดำเป็นสีที่แก่ที่สุด ระหว่างสี
13
ขาวถึงสีดำ จะมีสีเทาอีก 7 น้ำหนัก มีน้ำหนักที่ 5 เป็นน้ำหนักกลาง ( Middle Value ) ดังนั้น ถ้าต้องการให้
สีใดสีหนึ่งแก่ยิ่งขึ้นก็ผสมสีดำ สีเข้มที่เกิดขึ้นจะมีน้ำหนักกลางเรียกว่า Shade

สัญญาณเสียงและหลักการของระบบเสียงดิจิตอล

2.1 สัญญาณเสียงและหลักการของระบบเสียงดิจิตอล
2.1.1 สัญญาณเสียง
เสียงที่เราได้ยินนั้นเป็นเพราะอากาศมีการเปลี่ยนแปลงความดัน เมื่อไม่มีคลื่นเสียง ความดัน
บรรยากาศจะคงที่ เมื่อมีคลื่นเสียงเกิดขึ้น ความดันบรรยากาศจะแกว่งรอบๆ ค่าความดันปรกติ ถ้ามัน
แกว่งออกจากค่าปกติมาก เราก็จะรับรู้ว่าเสียงดังมาก อัตราการเปลี่ยนแปลงความดันนี้ เรียกว่า
amplitude กับ frequency Project นี้ศึกษาเสียงดนตรี ซึ่งเสียงดนตรีมีคลื่นความถี่อยู่ในช่วงที่หูคนเรา
สามารถได้ยินคือ 20 Hz – 20,000 Hz
อัตราการเปลี่ยนแปลงของความดันสามารถทำให้อยู่ในรูป sine wave ได้ คลื่นเสียงในธรรมชาติ
มีความซับซ้อนมาก ลักษณะของคลื่นเสียงมี amplitude และ frequency ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เรา
เรียกลักษณะรูปคลื่นเช่นนี้ว่า waveform ถึงแม้ว่า waveform จะมีความซับซ้อน แต่เราก็สามารถที่จะ
กระจาย waveform หนึ่งออกเป็นรูป sine wave ที่มี amplitude และ frequency แตกต่างกันหลายๆ ลูก
ชุดของ sine wave นี้เมื่อนำมารวมกันก็จะได้ waveform ซึ่ง wavefunction ของระบบหนึ่งๆ สามารถ
เขียนให้อยู่ในรูปของ gaussian functions หลายๆ เทอม ตัว gaussian functions นี้เรียกว่า timbre
Timbre ทำให้เสียงของเปียโน มีความแตกต่างจากเสียงกลอง ถึงแม้ว่าเราจะเล่นเปียโน ด้วยระดับ
เสียงที่แตกต่างกัน เช่น โด เร มี เป็นต้น timbre หรือ รูปแบบ waveform จะไม่ค่อยต่างกัน นั่นคือ timbre
เป็น basis set ของ waveform ระดับเสียง โด เร มี ใช้ basis set เดียวกัน แต่ผสมเสียงโดยใช้ปริมาณ
ของแต่ละ sine wave ที่ต่างกัน

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

ความมุ่งหมายในการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
2. เพื่อหาประสิทธิภาพ ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์

สมมุติฐานในการวิจัย
ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูง

วิธีการดำเนินงานวิจัย
วิธีการดำเนินงานวิจัยมีลำดับขั้นตอนนำเสนอ ดังนี้
1. ศึกษาเอกสารชุดการเรียนรู้
2. การออกแบบและพัฒนาชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3. สร้างแบบประเมินประสิทธิภาพและชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
หาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
โดยใช้ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean ; ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation ; )




สรุปผลการวิจัย
1. สถานภาพทั่วไปของผู้เชี่ยวชาญเป็นเพศชาย ทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 100.00 ส่วนใหญ่มีอายุ 26-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 83.33 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท คิดเป็นร้อยละ 66.67ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 66.67 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ มากกว่า 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 66.67
2. ประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
โดยรวมอยู่ในระดับ สูงมาก (μ = 4.62 , = 0.34) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
ด้านกายภาพทั่วไป มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ สูง (μ = 4.50 , = 0.86)
ด้านเนื้อหา มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ สูงมาก (μ = 4.51, = 0.57)
ด้านฮาร์ดแวร์ มีประสิทธิภาพอยู่ใน สูงมาก (μ = 4.77 , = 0.42)
ด้านซอฟต์แวร์ มีประสิทธิภาพอยู่ใน สูงมาก (μ = 4.73 , = 0.48)

อภิปรายผลการวิจัย
1. ประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้การประกอบและการติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก สูงกว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชุดการเรียนรู้มีเนื้อหาและรูปภาพ ชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย และนำไปปฏิบัติได้ แสดงว่าชุดการเรียนรู้สามารถใช้งานได้จริง จากผลการวิจัยครั้งนี้ยังพบว่าชุดการเรียนรู้ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงมาก ซึ่งสอดคล้องกับ ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิทยานิพนธ์ของ นิติธาร ชูทรัพย์ (2544 : 162) ที่สร้างและหาประสิทธิภาพใบงานเรื่องการประกอบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และการติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบ ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับดี และสอดคล้องกับผลงานปริญญานิพนธ์ของ เชษฐา บุญชวลิต (2540 : 100) ที่สร้างชุดการเรียนด้วยตนเองเรื่องการใช้เครื่องมือวัดไฟฟ้า ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพรวมของชุดการเรียนด้วยตนเอง เท่ากับ 91.12/88.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 85/85
2. ประสิทธิภาพด้านกายภาพทั่วไป มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านเนื้อหา ด้านฮาร์ดแวร์ และด้านซอฟต์แวร์ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูงมาก สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ชุดการเรียนรู้มี เนื้อหา รูปภาพกับข้อความบรรยายมีการเรียงขั้นตอนได้เหมาะสม กระทัดรัด เข้าใจง่าย น่าสนใจ นำไปปฏิบัติงานได้ การวิจัยยังพบว่า สอดคล้องกับผลงาน วิทยานิพนธ์ของ นิติธาร ชูทรัพย์ (2544 : 162) ที่สร้างและหาประสิทธิภาพใบงานเรื่องการประกอบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และการติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบ ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับดีและสอดคล้องกับผลงานปริญญานิพนธ์ของ เชษฐา บุญชวลิต (2540 : 100) ที่สร้างชุดการเรียนด้วยตนเองเรื่องการใช้เครื่องมือวัดไฟฟ้า ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพรวมของชุดการเรียนด้วยตนเอง เท่ากับ 91.12/88.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ มาตรฐานที่กำหนด 85/85

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย
1. ในการสร้างชุดการเรียนรู้ควรเลือกเนื้อหาที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ง่าย และใน
แต่ละเรื่องควรมีเนื้อหาที่กระชับไม่ซับซ้อนมากเกินไป
2. ชุดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น ควรเพิ่มสีสรรลงในภาพประกอบเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ
ของชุดการเรียนรู้
3. ในการนำชุดการเรียนรู้ไปเป็นคู่มือประกอบการสอน ควรให้คำแนะนำควบคู่ไปกับการใช้ชุดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในขณะปฏิบัติจริง จะช่วยให้ประสิทธิภาพการประกอบเครื่องสำเร็จสูงยิ่งขึ้น
4. ควรนำเนื้อหาชุดการเรียนรู้จากงานวิจัย ไปพัฒนาเพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ในการศึกษาค้นคว้าผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้
1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2. ลำดับขั้นในการวิเคราะห์ข้อมูล
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
μ แทน คะแนนเฉลี่ย
 แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
f แทน ความถี่
 แทน ผลรวม
N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

ลำดับขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์รายละเอียดเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ความถี่ร้อยละ
ตอนที่ 2 ประเมินประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ ในด้านต่าง ๆ
ตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ
ตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ
จากแบบประเมินผู้เชี่ยวชาญทั้ง 6 ท่าน สรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะไว้ 3 ด้าน ดังนี้
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านกายภาพ
1. ในด้านรูปเล่มยังมีความน่าสนใจน้อย ควรปรับปรุง
2. ขนาดของตัวอักษรในรูปภาพเล็กไปนิดหนึ่ง
3. รูปภาพและตัวครบถ้วนดี
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านเนื้อหา
1. มีความเหมาะสมในด้านเนื้อหาบางส่วน บางส่วนก็ถือว่ามากเกินความจำเป็น แต่โดยรวมถือว่านำเสนอเนื้อหาได้ดี
2. เนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ดี
3. มีรายละเอียดที่เข้าใจดีมาก
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านประสิทธิภาพ
1. อยู่ในระดับดี ถ้าปรับปรุงให้มีความกระชับและลดเรื่องเนื้อหารุ่นเก่าๆ ออกไปบ้างจะทำให้มีความพอดีมากกว่านี้
2. เอกสารและสื่อมีคุณภาพดี
3. สื่อมีคุณภาพดีมาก
4. ประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ อยู่ในเกณฑ์ระดับดี เพียงแต่ว่ายังมีความครอบคลุมด้านการนำไปใช้ ได้เพียงบางรุ่นและบางยี่ห้อเท่านั้น นอกนั้นจะต้องมีความรู้ความชำนาญในการใช้คอมพิวเตอร์ พอสมควรจึงจะเข้าใจเนื้อหาบางส่วนที่นำเสนอมา

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานวิจัย

บทที่ 3
วิธีการดำเนินงานวิจัย

ในงานวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนาชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติ
การคอมพิวเตอร์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาเอกสารชุดการเรียนรู้
2. การออกแบบและพัฒนา
3. สร้างแบบประเมินประสิทธิภาพ
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1. ศึกษาเอกสารชุดการเรียนรู้
การศึกษาเอกสารงานวิจัย และทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ชุดการเรียนรู้ และเอกสารการประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนการศึกษาเสนอตามลำดับ ดังนี้
1. รวบรวมเอกสารชุดการเรียนรู้ ทฤษฎีและงานวิจัยต่าง ๆ ทีเกี่ยวข้องกับงานวิจัย
2. นำเนื้อหา ข้อมูลเอกสารงานวิจัย และทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุดการเรียนรู้
และเอกสารการประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาใน
งานวิจัยเพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายในงานวิจัย ความสำคัญของงานวิจัย และ กรอบแนวคิดในงานวิจัย
3. คัดเลือกเนื้อหา ข้อมูลเอกสารงานวิจัย และทฤษฎีต่าง ๆ ที่สามารถนำพัฒนา
ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาในงานวิจัยเพื่อกำหนด สมมุติฐานในงานวิจัย ขอบเขตของงานวิจัย แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษางาน
วิจัยอีกครั้ง

2. การออกแบบและพัฒนา
การออกแบบและพัฒนาชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนในการนำเสนอตามลำดับ ดังนี้
1. ศึกษาเอกสารชุดการเรียนรู้ ทฤษฎีและงานวิจัยต่าง ๆ ทีเกี่ยวข้องกับงานวิจัย
2. ออกแบบชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ฉบับร่างขึ้น นำฉบับร่างที่สร้างขึ้น ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาในงานวิจัย
3. ทำการแก้ไข ปรับปรุง ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์ฉบับร่างขึ้น แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยอีกครั้ง
4. นำชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการแก้ไข มาพัฒนาอีกครั้ง โดยภายในชุดการเรียนรู้ได้กำหนดส่วนเนื้อหาที่สำคัญไว้ดังนี้
4.1 เนื้อหาเรื่อง การประกอบคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยรูปภาพขณะทำการประกอบคอมพิวเตอร์จริง พร้อมคำบรรยายภาพ
4.2 เนื้อหาเรื่อง การติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยรูปภาพขณะทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์จริง พร้อมคำบรรยายภาพ

3. สร้างแบบประเมินประสิทธิภาพ
การสร้างแบบประเมินประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินประสิทธิภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญได้มี
ขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
1. ศึกษาเอกสารเอกสารและแบบประเมินที่เกี่ยวข้องกับการประเมินประสิทธิภาพ
ชุดการเรียนรู้
2. สร้างแบบประเมินประสิทธิภาพฉบับร่าง
3. นำแบบประเมินประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้ฉบับร่างที่สร้างขึ้น ปรึกษาอาจารย์ที่
ปรึกษาในงานวิจัย
4. แก้ไขแบบประเมินประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้แล้วทำการเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
ในงานวิจัยอีกครั้ง

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. แจกเอกสารชุดการเรียนรู้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเนื้อหา
2. ทำการแจกแบบประเมินให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการประเมินผล
3. เก็บรวบรวมแบบประเมินจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล


5. การวิเคราะห์ข้อมูล
1. ข้อมูลในตอนที่ 1 วิเคราะห์โดยใช้ความถี่ ร้อยละ และนำเสนอโดยใช้
ตารางประกอบความเรียง
2. ข้อมูลในตอนที่ 2 วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และนำเสนอโดยใช้ตารางประกอบความเรียง
โดยมีเกณฑ์การแปลความความหมายของคะแนนที่เป็นค่าเฉลี่ย ดังนี้
4.51 – 5.00 คือ ประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูงมาก
3.51 – 3.50 คือ ประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูง
2.51 – 3.50 คือ ประสิทธิภาพอยู่ในระดับปานกลาง
1.51 – 2.50 คือ ประสิทธิภาพอยู่ในระดับต่ำ
1.00 – 1.50 คือ ประสิทธิภาพอยู่ในระดับต่ำที่สุด

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยและคณะได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้นำเสนอตามลำดับ ดังนี้
1. ชุดการเรียนรู้
2. ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
3. การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
4. การติดตั้งระบบปฏิบัติการและโปรแกรมระบบ
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.ชุดการเรียนรู้
ลัดดา สุขปรีดี (2532 : 32) กล่าวว่า ชุดการเรียนรู้ หมายถึง การรวบรวมสื่อการ
สอนสำเร็จรูปโดยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคลได้ตามความสะดวก เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
วาสนา ชาวหา (2522 : 32) กล่าวว่า ชุดการเรียนรู้ หมายถึง การวางแผนสื่อการ
เรียนการสอนโดยใช้สื่อต่าง ๆ ร่วมกัน (Multimedia Approach) หรือหมายถึง การใช้สื่อประสม (Multi Media) เพื่อสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางและเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
กาญจนา เกียรติประวัติ (2524 : 174-176) ให้ความหมายของชุดการเรียน (Learning Package) ว่าเป็นระบบการผลิตและนำสื่อการเรียนต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับเนื้อหามาส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้สื่อต่าง ๆ ในชุดการเรียนเพื่อศึกษาตนเองโดยครูจะมีบทบาทน้อยลง เป็นการส่งเสริมการเรียนด้วยตนเองตามลำพัง และสามารถนำไปประกอบการเรียนซ่อมเสริมด้วยตนเองได้ เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบของผู้เรียน




วีระ ไทยพานิช (2529 : 134) กล่าวว่า ชุดการเรียนมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น
ชุดการสอนรายบุคคล และชุดการเรียนเบ็ดเสร็จ ซึ่งเป็นสื่อประสมที่ที่แตกต่างกันออกไปส่วนมากจะประกอบไปด้วยคำชี้แจงหัวข้อ จุดมุ่งหมาย การประเมินผล
จากเอกสารข้างต้น สรุปได้ว่า ชุดการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมสื่อการเรียนการสอนหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีการพัฒนา ความรู้ความเข้าใจตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

2. ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีขอบเขตเนื้อหาดังนี้
2.1 ประวัติความเป็นมา
2.2 ความหมายของคอมพิวเตอร์
2.3 องค์ประกอบในการทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
2.4 ส่วนประกอบของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware)
2.5 ส่วนประกอบของคำสั่ง โปรแกรม (Software) และ บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
2.1 ประวัติความเป็นมา
เครื่องคอมพิวเตอร์นับได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีความสลัลซับซ้อนที่มีความสามารถมากมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ เราจึงเรียกกันว่าเป็นยุคคอมพิวเตอร์ ที่จริงแล้วคอมพิวเตอร์มีการเริ่มต้นในปี คศ. 1944 ซึ่งถือว่าเป็นปีที่มีการผลิตคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแรก มนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องมีการประมวลผลมาตั้งแต่ในอดีต มนุษย์เริ่มมีการใช้ลูกคิด (Abacus) ซึ่งถือเป็นเครื่องนับชิ้นแรกในโลก แต่ก่อนที่จะใช้เครื่องคิดเลข มนุษย์รู้จักการนับ โดยเริ่มตั้งแต่ใช้นิ้วมือ ต่อมาก็ใช้เศษไม้ ก้อนหินมาช่วย จากก้อนหินก็มีวิวัฒนาการมาใช้ก้อนหินที่มีขนาดเล็กลง ขนาดเท่ากับลูกปัด แล้วนำมาร้อยเป็นพวงเก็บไว้ ต่อมาก็เกิดความคิดในการทำเป็นบอร์ดสี่เหลี่ยมที่มีลูกปัดร้อยไว้เพื่อใช้ในการนับ จนกระทั้งมีการประดิษฐ์เป็นลูกคิดขึ้นมา ซึ่งลูกคิดนี้ได้มีการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือนับที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใช้เป็นอันดับแรกในโลก
ต่อจากสมัยนั้นมา มนุษย์ก็มีการประดิษฐ์เครื่องนับขึ้นมาอีกมากมาย เพื่อช่วยผ่อนแรงสมองในการจำตัวเลขต่างๆ เช่น จอห์น เนเปียร์ (John Napier) ชาวสก๊อตได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขที่เรียกว่า เนเปียร์สโบนส์ (Napier’s Bones ) ขึ้นในปี คศ.1617 และเฮนรี่ บริกส์ (Henry Briggs) ได้คิดค้นแบบคำนวณตารางลอกการึทึม และเอ็ดมันต์ กันเตอร์ (Edmund Gunter) ได้นำค่าลอการึทึมของเนเปียร์มาแกะลงไม้บรรทัด ต่อมาในปี คศ.1700 วิลเลียม ออกเทรด (William Aughtred) ได้นำความคิดของ กันเตอร์ มาปรับปรุงเป็น สไลด์รูล จึงนับได้ว่า สไลด์รูลเป็นคอมพิวเตอร์อนาลอกเครื่องแรกของโลก
ในปี คศ. 1642 เบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกเลขขึ้นมาโดยมีเฟืองหมุน เมื่อบวกเลขหลักแรกแล้วได้ผลเกินสิบ ก็จะทดให้เฟืองตัวที่อยู่ทางซ้ายขยับไปที่หนึ่งเหมือนกับวิธีการใช้หลักหน่วย สิบ ร้อย พัน ในปัจจุบัน สำหรับเครื่องมือชิ้นนี้เรียกกันว่า ปาสกาลีน (Pascaline) ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องบวกเลขเครื่องแรกของโลก
ในปี คศ. 1673 ไลบิทซ์ (Gottfried von Leibnitz) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันได้ออกแบบเครื่องคำนวณ ซึ่งสามารถคูณได้ และค้นพบเลขฐานสองซึ่งเป็นความคิดในการนำไปสร้างเป้นเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อมา
สำหรับเครื่องคำนวณที่ทั้งสองได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมานั้น ยังไม่ถือว่าสมบูรณ์มากนัก เพราะยังมีจุดบกพร่องอยู่ อีกหลายปีต่อมาจึงมีนักวิศวกรได้หันมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น นอกจากจะมีเครื่องคำนวณดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีสิ่งประดิษฐ์ที่ถือว่าเป็นการบุกเบิกให้มีการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อีก 2 อย่าง คือ การใชระบบบัตรเจาะรูควบคุมงานของเครื่องทอผ้าอัตโนมัติ ซึ่งประดิษฐ์โดยโจเซฟ มารี แจคการ์ด (Joseph – Marie Jacquard) นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์บัตรเจาะรูเพื่อควบคุมการทอผ้าให้เป็นลายต่างๆ ซึ่งต่อมาได้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางส่วนสิ่งประดิษฐ์อีกชิ้นหนึ่ง คือ เครื่องมือสำหรับคำนวณตารางคณิตศาสตร์ ซึ่งสร้างโดย ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charies Babbage) ในปี คศ. 1812 และ 1822 มีชื่อเรียกว่า ดิฟเฟอเรนส์ เอนจิน (Difference Engine) ซึ่งมีฟังก์ชั่นทางตรีโกณมิติต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ ต่อมาในปี คศ. 1871 แบบเบจได้สร้างเครื่องจักรกลแบบแรกของเครื่องคำนวณอัตโนมัติที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน เครื่องมือชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า อนาลิติคัล เอนจิน (Analytical Engine) ซึ่งมีชิ้นส่วนสำคัญทุกชิ้นเหมือนกับเครื่องดิจิตอลคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ คือ จะมีหน่วยรับส่งข้อมูล หน่วยควบคุม และหน่วยความจำ โดยจะใช้บัตรเจาะรูเป็นส่วนในการรับและแสดงผลข้อมูล
ในปี คศ. 1894 เอช ฮอลเลอริช (H. Hollerith) นักสถิติชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เอกสารในการบันทึกหน่วยที่เครื่องจักรกลจะอ่านขึ้นมา โดยใช้เครื่องกลไกทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อติดต่อ ซึ่งสามารถอ่านข้อความ จำแนกข้อความ และบันทึกผลลงบนบัตรเจาะรูได้ซึ่งผลงานของ ฮอลเลอริช นั้นได้ถูกนำมาเป็นพื้นฐานในการผลิตคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆด้วย ต่อมาในปลายปี 1944 โฮเวิร์ด อายเคน (Howard Aiiken) ได้ออกแบบเครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ขึ้นมา ซึ่งเครื่องคำนวณนี้สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ทุกแบบ และนอกจากนั้นยังได้สร้างเครื่องที่เป็น Automatic Sequence Controlled Calculator มีชื่อว่า มาร์ค วัน (Mark l) ขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก ที่ใช้ไฟฟ้าแบบกึ่งไฟฟ้า กึ่งเครื่องกล การส่งข้อมูลเข้าไปในเครื่องจะใช้เทปกระดาษเจาะรู เครื่องมาร์ควัน นี้ มีข้อเสียที่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ และทำงานได้ค่อนข้างช้า จึงทำให้ผลิตงานได้น้อยมากถ้าเทียบกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ในปี คศ. 1946 ดร.เจ เอคเกิท ( J. Eckert) และ จอห์น มอชลีย์ (John Mauchly) จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรก มีชื่อว่า อีนิ แอ็ก (ENIAC) ซึ่งย่อมาจาก Electronic Numerical Integrator and Calculator ใช้หลอดสูญญากาศ 18,000 หลอด สามารถบวกเลขได้ 5,000 ครั้งต่อวินาที ซึ่งถือว่ารวดเร็วมาก นอกจากนั้นการคูณและหารก็สามารถทำได้รวดเร็วเช่นเดียวกัน แต่ตัวเครื่องก็ยังมีขนาดใหญ่อยู่เหมือนเดิม
ในปี คศ. 1946 ดร.จอห์น ฟอน นอยมานน์ (Dr. John von Neumann) ได้ปรับปรุงให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามรถเก็บโปรแกรม เปลี่ยนแปลงข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูลได้เป็นเครื่องแรกโดยมีชื่อว่า เอ็ดแว็ก (EDVAC) ซึ่งย่อมาจาก Electronic Discrete Variable Automatic Computer ในเวลาต่อมา เอ็ม วิลคส์ (M. Wilkes ) จากประเทศอังกฤษได้สร้างเครื่องจักร ชื่อว่า เอ็ดแซ็ก (EDSAC) ย่อมาจาก Electronic Delay Storage Automatic Calculator ในปี คศ. 1949 ในปี คศ. 1954 มอชลีย์ และเอคเกิท ได้ร่วมกันสร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใหม่ ชื่อ (UNIVAC) ย่อมาจาก Universal Automatic Computer ซึ่งนับว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในท้องตลาดสามารถใช้เทปแม่เหล็กเป็นสื่อเก็บข้อมูลได้
สำหรับในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้รับความสนใจในการทำงานค่อนข้างมาก จึงทำให้มีผู้คิดพัฒนาให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงมาจากเดิม อีกทั้งยังเพิ่มความเร็วในการทำงานให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้นมีข้อบกพร่องในการทำงานน้อย และที่สำคัญคือราคาต้องถูกด้วย
2.1.1 ยุคของคอมพิวเตอร์
หลังจากที่คอมพิวเตอร์ได้รับความสนใจมากขึ้น และมีกลุ่มผู้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมาอีกหลายกลุ่ม ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น และความต้องการในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานก็เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นจึงทำให้เกิดมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเห็นได้จากขนาดของตัวเตรื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงมาแต่มีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น เร็วขึ้นกว่าเดิม นอกจากนั้นยังมีราคาถูกลงอีกด้วย เพราะใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำลง สำหรับความเป็นมาของคอมพิวเตอร์นั้นมีผู้แบ่งยุคของคอมพิวเตอร์ตามวิวัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ออกเป็น 4 ยุคด้วยกัน ดังนี้




ก ) ยุคที่ หนึ่ง (First Generation) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ คศ. 1944 เป็นต้นมา หรือประมาณปี พ.ศ. 2494 – 2502 เทคโนโลยีที่ใช้สร้างคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะใช้หลอดสูญญากาศ และวงจรไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้พลังความร้อนในขณะทำงานสูง ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงมีขนาดใหญ่และต้องใช้เครื่องปรับอากาศมาช่วยในการระบายความร้อน นอกจากนั้นยังมีการใช้เทปกระดาษหรือบัตรเจาะรูในการรับส่งข้อมูล สำหรับปัญหาที่เกิดในยุคนี้จะเป็นปัญหาด้านการบำรุงรักษา และการซ่อมแซมเครื่องเพื่อให้เครื่องสามารถทำงานได้ นอกจากนั้นการใช้คำสั่งในการสั่งงานก็ค่อนข้างยาก เพราะส่วนมากแล้วในการทำงานต้องสั่งงานโดยใช้ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งจะถือเป็นภาษาระดับต่ำ รหัสคำสั่งต่างๆ จะจดจำค่อนข้างยาก การใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นงานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ส่วนงานทางด้านธุรกิจมีการเริ่มใช้ในยุคนี้เช่นกัน แต่มีการใช้ที่ค่อนข้างน้อย
ข ) ยุคที่สอง (Second Generation) ยุคนี้เริ่มในปี คศ. 1957 หรือประมาณปี พ.ศ. 2502 –2507 ในยุคนี้ได้มีการริเริ่มนำเอาทรานซิสเตอร์ (Transistor) และไดโอด (Diodes) มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ ซึ่งมีขนาดเล็ก มีราคาถูกลงและทำงานได้เร็วขึ้น ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์จึงเล็กตามลงไปด้วย ในการทำงานจะใช้วงแหวนแม่เหล็ก สำหรับเก็บข้อมูลและใช้เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูล นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มอุปกรณ์ในการรับข้อมูล และอุปกรณ์ในการแสดงผลลัพธ์อีกมากมาย มีการใช้เครื่องพิมพ์ จานแม่เหล็ก บัตรเจาะรู จอภาพ และแป้นพิมพ์เป็นเครื่องปลายทางในยุคนี้ได้เปลี่ยนจากการสั่งงานด้วยภาษาเครื่องเป็นการใช้สัญลักษณ์แทนจึงทำให้การสั่งงานง่ายขึ้นและมีภาษาระดับสูงบางภาษาเกิดขึ้นในยุคนี้เช่นกัน
ค ) ยุคที่สาม (Third Generation) เริ่มในปี คศ.1965 ในยุคนี้มีการนำเอาวงจรผนึกมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ ทำให้คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็กลงไปอีก ความเร็วก็สูงขึ้นและราคาก็ลดลงไปอีก มีการพัฒนาโปรแกรมกว้างขวางขึ้น และมีการเริ่มใช้ภาษาระดับสูงมาช่วยในการเขียนโปรแกรม จึงมีหลายบริษัทเริ่มผลิตโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ในการทำงาน
4.ยุคที่ สี่ (Fourth Generation) เริ่มตั้งแต่ปี คศ. 1976 มีการนำเอาแผงวงจรรวมมาใช้แทนวงจรผนึก และมีการปรับปรุงอุปกรณ์อื่นๆ ให้มีความสามารถสูงขึ้น จึงทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนหน่วยความจำจากวงแหวนแม่เหล็กมาเป็นหน่วยความจำสารกึ่งตัวนำ มีการผลิตไมโครโพรเซสเซอร์ขึ้นทำให้มีการสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer) และ ขนาดเล็ก(Microcomputer)ขึ้นมาขายเพื่อความเหมาะสมในการใช้งานในแต่ละประเภทในยุคนี้มีประชาชนสนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น ทำให้มีการใช้อย่างแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ นายแพทย์ นักธุรกิจ เป็นต้น

2.1.2 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จะพบว่าคอมพิวเตอร์ได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และทางด้านซอฟต์แวร์ เพื่อให้ทันสมัยและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านฮาร์ดแวร์นั้นได้มีวิวัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงดังนี้
ปี คศ. 1981 ได้ผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นไอบีเอ็มพีซีขึ้น โดยบริษัทอินเทล ในรุ่นนี้ใช้ CPU เบอร์ 8088 ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของเครื่องพีซีในปัจจุบัน ปี คศ. 1982 ได้พัฒนาเป็นรุ่นไอบีเอ็มพีซีเอ็กซ์ที (IBM PC/XT) มีการออกแบบวงจรภายในใหม่ ให้มีขนาดเล็กและทำงานรวดเร็วขึ้น แต่ยังคงใช้ CPU เบอร์ 8088 ของอินเทล เครื่องรุ่นนี้สามารถติดตั้งฮาร์ดดิสก์ได้ถึง 10 เมกกะไบต์ และสำหรับการเก็บข้อมูลในฟลอปปีดิสก์ได้มีการเปลี่ยนไปจากเดิม คือ 8 เซกเตอร์ต่อแทรก เป็น 9 เซกเตอร์ต่อแทรก ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นเป็น 360 กิโลไบต์ ปี คศ. 1985 ได้พัฒนาเป็นรุ่นไอบีเอ็มพีซีเอที (IBM PC/AT) ในรุ่นนี้ได้เปลี่ยนไปใช้ CPU เบอร์ 80286 ซึ่งเป็นตัวใหม่ของบริษัทอินเทล ในการเก็บข้อมูลก็มีการเพิ่มฮาร์ดดิสก์ ให้มีความจุเพิ่มขึ้นเป็น 20 เมกะไบต์ ฟลอปปีดิสก์ก็สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 1.2 เมกกะไบต์ ทำให้มีประสิทธิภาพสูงและทำงานเร็วกว่ารุ่นไอบีเอ็มเอ็กซ์ที ปี คศ. 1987 บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์รุ่น PS/2 ในรุ่นนี้ฮาร์ดดิสก์จะมีความจุมากขึ้น ฟลอปปีดิสก์ก็เพิ่มความจุจากเดิม 720 กิโลไบต์ เป็น 1.44 เมกกะไบต์ และเปลี่ยนเป็นแผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว ปี ต่อมา ได้พัฒนาเป็นเครื่องที่ใชไมโครโพรเซสเซอร์เบอร์ 80386 ของอินเทล ซึ่งมีขนาด 32 บิต และมีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องเอทีมาก แต่ก็มีปัญหาหนึ่งของเครื่อง 386 คือระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นที่ผ่านมาถูกพัฒนาขึ้นมาบนเครื่องพีซีธรรมดาเท่านั้น โปรแกรมเหล่านั้นจึงไม่สามารถใช้ความสามารถของซีพียู 80386 ได้เต็มที่นักจะมีก็แต่ความเร็วที่สูงขึ้นเท่านั้น ต่อจากนั้นได้พัฒนาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 486 เครื่องพีซีรุ่นนี้ อาจจะเรียกใหม่เป็น ซูเปอร์ไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากในตระกูลนี้มีความสามารถที่เทียบเท่ากับเวิร์กสเตชั่น หรือมินิคอมพิวเตอร์บางรุ่น และในรุ่นนี้มีความเร็วสู่งกว่ารุ่น 80386 มาก สำหรับการทำงานเป็นการทำงานแบบ 32 บิต ปัจจุบัน บริษัท อินเทล ได้พัฒนาเครื่องพีซี586 (Pentium)ขึ้นมาเพื่อการใช้งานกับแอพพลิเคชั่นบนวินโดวส์โดยเฉพาะและรองรับความเร็วของพีซียูได้สำหรับในปัจจุบันรุ่นนี้เป็นรุ่นที่กำลังได้รับความนิยมในการทำงานค่อนข้างสูง





2.2 ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยผ่อนแรงสมองของมนุษย์ได้โดยจะทำตามคำสั่งที่ป้อนลงไป สำหรับคำว่าคอมพิวเตอร์นั้นมีผู้นำมาแปลเป็นภาษาไทยไว้หลายคำ เช่น เครื่องจักรประมวลผล เครื่องคณิตกลจักร เครื่องคณนาสมองกล เครื่องประมวลผลอัตโนมัติ แต่ไม่มีคำใดเป็นที่ยอมรับ จึงได้ใช้คำว่า “คอมพิวเตอร์” เป็นคำทับศัพท์ในภาษาไทยตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา แต่ในปี 2529 ทางราชบัณฑิตยสถาน ได้บัญญัติคำแปลของ “ คอมพิวเตอร์ ” ว่า “ คณิตกรณ์ ”
2.2.1 คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
จากการที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลายนั้นย่อมหมายถึงว่า คอมพิวเตอร์จะต้องมีคุณสมบัติที่เด่น และมีประโยชน์ในการทำงาน จึงทำให้คอมพิวเตอร์มีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของเรามาก สำหรับคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์นั้นมีดังต่อไปนี้

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยและคณะได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้นำเสนอตามลำดับ ดังนี้
1. ชุดการเรียนรู้
2. ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
3. การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
4. การติดตั้งระบบปฏิบัติการและโปรแกรมระบบ
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.ชุดการเรียนรู้
ลัดดา สุขปรีดี (2532 : 32) กล่าวว่า ชุดการเรียนรู้ หมายถึง การรวบรวมสื่อการ
สอนสำเร็จรูปโดยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคลได้ตามความสะดวก เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
วาสนา ชาวหา (2522 : 32) กล่าวว่า ชุดการเรียนรู้ หมายถึง การวางแผนสื่อการ
เรียนการสอนโดยใช้สื่อต่าง ๆ ร่วมกัน (Multimedia Approach) หรือหมายถึง การใช้สื่อประสม (Multi Media) เพื่อสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางและเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
กาญจนา เกียรติประวัติ (2524 : 174-176) ให้ความหมายของชุดการเรียน (Learning Package) ว่าเป็นระบบการผลิตและนำสื่อการเรียนต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับเนื้อหามาส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้สื่อต่าง ๆ ในชุดการเรียนเพื่อศึกษาตนเองโดยครูจะมีบทบาทน้อยลง เป็นการส่งเสริมการเรียนด้วยตนเองตามลำพัง และสามารถนำไปประกอบการเรียนซ่อมเสริมด้วยตนเองได้ เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบของผู้เรียน




วีระ ไทยพานิช (2529 : 134) กล่าวว่า ชุดการเรียนมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น
ชุดการสอนรายบุคคล และชุดการเรียนเบ็ดเสร็จ ซึ่งเป็นสื่อประสมที่ที่แตกต่างกันออกไปส่วนมากจะประกอบไปด้วยคำชี้แจงหัวข้อ จุดมุ่งหมาย การประเมินผล
จากเอกสารข้างต้น สรุปได้ว่า ชุดการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมสื่อการเรียนการสอนหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีการพัฒนา ความรู้ความเข้าใจตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

2. ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีขอบเขตเนื้อหาดังนี้
2.1 ประวัติความเป็นมา
2.2 ความหมายของคอมพิวเตอร์
2.3 องค์ประกอบในการทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
2.4 ส่วนประกอบของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware)
2.5 ส่วนประกอบของคำสั่ง โปรแกรม (Software) และ บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
2.1 ประวัติความเป็นมา
เครื่องคอมพิวเตอร์นับได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีความสลัลซับซ้อนที่มีความสามารถมากมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ เราจึงเรียกกันว่าเป็นยุคคอมพิวเตอร์ ที่จริงแล้วคอมพิวเตอร์มีการเริ่มต้นในปี คศ. 1944 ซึ่งถือว่าเป็นปีที่มีการผลิตคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแรก มนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องมีการประมวลผลมาตั้งแต่ในอดีต มนุษย์เริ่มมีการใช้ลูกคิด (Abacus) ซึ่งถือเป็นเครื่องนับชิ้นแรกในโลก แต่ก่อนที่จะใช้เครื่องคิดเลข มนุษย์รู้จักการนับ โดยเริ่มตั้งแต่ใช้นิ้วมือ ต่อมาก็ใช้เศษไม้ ก้อนหินมาช่วย จากก้อนหินก็มีวิวัฒนาการมาใช้ก้อนหินที่มีขนาดเล็กลง ขนาดเท่ากับลูกปัด แล้วนำมาร้อยเป็นพวงเก็บไว้ ต่อมาก็เกิดความคิดในการทำเป็นบอร์ดสี่เหลี่ยมที่มีลูกปัดร้อยไว้เพื่อใช้ในการนับ จนกระทั้งมีการประดิษฐ์เป็นลูกคิดขึ้นมา ซึ่งลูกคิดนี้ได้มีการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือนับที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใช้เป็นอันดับแรกในโลก
ต่อจากสมัยนั้นมา มนุษย์ก็มีการประดิษฐ์เครื่องนับขึ้นมาอีกมากมาย เพื่อช่วยผ่อนแรงสมองในการจำตัวเลขต่างๆ เช่น จอห์น เนเปียร์ (John Napier) ชาวสก๊อตได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขที่เรียกว่า เนเปียร์สโบนส์ (Napier’s Bones ) ขึ้นในปี คศ.1617 และเฮนรี่ บริกส์ (Henry Briggs) ได้คิดค้นแบบคำนวณตารางลอกการึทึม และเอ็ดมันต์ กันเตอร์ (Edmund Gunter) ได้นำค่าลอการึทึมของเนเปียร์มาแกะลงไม้บรรทัด ต่อมาในปี คศ.1700 วิลเลียม ออกเทรด (William Aughtred) ได้นำความคิดของ กันเตอร์ มาปรับปรุงเป็น สไลด์รูล จึงนับได้ว่า สไลด์รูลเป็นคอมพิวเตอร์อนาลอกเครื่องแรกของโลก
ในปี คศ. 1642 เบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกเลขขึ้นมาโดยมีเฟืองหมุน เมื่อบวกเลขหลักแรกแล้วได้ผลเกินสิบ ก็จะทดให้เฟืองตัวที่อยู่ทางซ้ายขยับไปที่หนึ่งเหมือนกับวิธีการใช้หลักหน่วย สิบ ร้อย พัน ในปัจจุบัน สำหรับเครื่องมือชิ้นนี้เรียกกันว่า ปาสกาลีน (Pascaline) ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องบวกเลขเครื่องแรกของโลก
ในปี คศ. 1673 ไลบิทซ์ (Gottfried von Leibnitz) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันได้ออกแบบเครื่องคำนวณ ซึ่งสามารถคูณได้ และค้นพบเลขฐานสองซึ่งเป็นความคิดในการนำไปสร้างเป้นเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อมา
สำหรับเครื่องคำนวณที่ทั้งสองได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมานั้น ยังไม่ถือว่าสมบูรณ์มากนัก เพราะยังมีจุดบกพร่องอยู่ อีกหลายปีต่อมาจึงมีนักวิศวกรได้หันมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น นอกจากจะมีเครื่องคำนวณดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีสิ่งประดิษฐ์ที่ถือว่าเป็นการบุกเบิกให้มีการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อีก 2 อย่าง คือ การใชระบบบัตรเจาะรูควบคุมงานของเครื่องทอผ้าอัตโนมัติ ซึ่งประดิษฐ์โดยโจเซฟ มารี แจคการ์ด (Joseph – Marie Jacquard) นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์บัตรเจาะรูเพื่อควบคุมการทอผ้าให้เป็นลายต่างๆ ซึ่งต่อมาได้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางส่วนสิ่งประดิษฐ์อีกชิ้นหนึ่ง คือ เครื่องมือสำหรับคำนวณตารางคณิตศาสตร์ ซึ่งสร้างโดย ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charies Babbage) ในปี คศ. 1812 และ 1822 มีชื่อเรียกว่า ดิฟเฟอเรนส์ เอนจิน (Difference Engine) ซึ่งมีฟังก์ชั่นทางตรีโกณมิติต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ ต่อมาในปี คศ. 1871 แบบเบจได้สร้างเครื่องจักรกลแบบแรกของเครื่องคำนวณอัตโนมัติที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน เครื่องมือชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า อนาลิติคัล เอนจิน (Analytical Engine) ซึ่งมีชิ้นส่วนสำคัญทุกชิ้นเหมือนกับเครื่องดิจิตอลคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ คือ จะมีหน่วยรับส่งข้อมูล หน่วยควบคุม และหน่วยความจำ โดยจะใช้บัตรเจาะรูเป็นส่วนในการรับและแสดงผลข้อมูล
ในปี คศ. 1894 เอช ฮอลเลอริช (H. Hollerith) นักสถิติชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เอกสารในการบันทึกหน่วยที่เครื่องจักรกลจะอ่านขึ้นมา โดยใช้เครื่องกลไกทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อติดต่อ ซึ่งสามารถอ่านข้อความ จำแนกข้อความ และบันทึกผลลงบนบัตรเจาะรูได้ซึ่งผลงานของ ฮอลเลอริช นั้นได้ถูกนำมาเป็นพื้นฐานในการผลิตคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆด้วย ต่อมาในปลายปี 1944 โฮเวิร์ด อายเคน (Howard Aiiken) ได้ออกแบบเครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ขึ้นมา ซึ่งเครื่องคำนวณนี้สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ทุกแบบ และนอกจากนั้นยังได้สร้างเครื่องที่เป็น Automatic Sequence Controlled Calculator มีชื่อว่า มาร์ค วัน (Mark l) ขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก ที่ใช้ไฟฟ้าแบบกึ่งไฟฟ้า กึ่งเครื่องกล การส่งข้อมูลเข้าไปในเครื่องจะใช้เทปกระดาษเจาะรู เครื่องมาร์ควัน นี้ มีข้อเสียที่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ และทำงานได้ค่อนข้างช้า จึงทำให้ผลิตงานได้น้อยมากถ้าเทียบกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ในปี คศ. 1946 ดร.เจ เอคเกิท ( J. Eckert) และ จอห์น มอชลีย์ (John Mauchly) จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรก มีชื่อว่า อีนิ แอ็ก (ENIAC) ซึ่งย่อมาจาก Electronic Numerical Integrator and Calculator ใช้หลอดสูญญากาศ 18,000 หลอด สามารถบวกเลขได้ 5,000 ครั้งต่อวินาที ซึ่งถือว่ารวดเร็วมาก นอกจากนั้นการคูณและหารก็สามารถทำได้รวดเร็วเช่นเดียวกัน แต่ตัวเครื่องก็ยังมีขนาดใหญ่อยู่เหมือนเดิม
ในปี คศ. 1946 ดร.จอห์น ฟอน นอยมานน์ (Dr. John von Neumann) ได้ปรับปรุงให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามรถเก็บโปรแกรม เปลี่ยนแปลงข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูลได้เป็นเครื่องแรกโดยมีชื่อว่า เอ็ดแว็ก (EDVAC) ซึ่งย่อมาจาก Electronic Discrete Variable Automatic Computer ในเวลาต่อมา เอ็ม วิลคส์ (M. Wilkes ) จากประเทศอังกฤษได้สร้างเครื่องจักร ชื่อว่า เอ็ดแซ็ก (EDSAC) ย่อมาจาก Electronic Delay Storage Automatic Calculator ในปี คศ. 1949 ในปี คศ. 1954 มอชลีย์ และเอคเกิท ได้ร่วมกันสร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใหม่ ชื่อ (UNIVAC) ย่อมาจาก Universal Automatic Computer ซึ่งนับว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในท้องตลาดสามารถใช้เทปแม่เหล็กเป็นสื่อเก็บข้อมูลได้
สำหรับในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้รับความสนใจในการทำงานค่อนข้างมาก จึงทำให้มีผู้คิดพัฒนาให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงมาจากเดิม อีกทั้งยังเพิ่มความเร็วในการทำงานให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้นมีข้อบกพร่องในการทำงานน้อย และที่สำคัญคือราคาต้องถูกด้วย
2.1.1 ยุคของคอมพิวเตอร์
หลังจากที่คอมพิวเตอร์ได้รับความสนใจมากขึ้น และมีกลุ่มผู้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมาอีกหลายกลุ่ม ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น และความต้องการในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานก็เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นจึงทำให้เกิดมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเห็นได้จากขนาดของตัวเตรื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงมาแต่มีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น เร็วขึ้นกว่าเดิม นอกจากนั้นยังมีราคาถูกลงอีกด้วย เพราะใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำลง สำหรับความเป็นมาของคอมพิวเตอร์นั้นมีผู้แบ่งยุคของคอมพิวเตอร์ตามวิวัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ออกเป็น 4 ยุคด้วยกัน ดังนี้




ก ) ยุคที่ หนึ่ง (First Generation) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ คศ. 1944 เป็นต้นมา หรือประมาณปี พ.ศ. 2494 – 2502 เทคโนโลยีที่ใช้สร้างคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะใช้หลอดสูญญากาศ และวงจรไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้พลังความร้อนในขณะทำงานสูง ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงมีขนาดใหญ่และต้องใช้เครื่องปรับอากาศมาช่วยในการระบายความร้อน นอกจากนั้นยังมีการใช้เทปกระดาษหรือบัตรเจาะรูในการรับส่งข้อมูล สำหรับปัญหาที่เกิดในยุคนี้จะเป็นปัญหาด้านการบำรุงรักษา และการซ่อมแซมเครื่องเพื่อให้เครื่องสามารถทำงานได้ นอกจากนั้นการใช้คำสั่งในการสั่งงานก็ค่อนข้างยาก เพราะส่วนมากแล้วในการทำงานต้องสั่งงานโดยใช้ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งจะถือเป็นภาษาระดับต่ำ รหัสคำสั่งต่างๆ จะจดจำค่อนข้างยาก การใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นงานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ส่วนงานทางด้านธุรกิจมีการเริ่มใช้ในยุคนี้เช่นกัน แต่มีการใช้ที่ค่อนข้างน้อย
ข ) ยุคที่สอง (Second Generation) ยุคนี้เริ่มในปี คศ. 1957 หรือประมาณปี พ.ศ. 2502 –2507 ในยุคนี้ได้มีการริเริ่มนำเอาทรานซิสเตอร์ (Transistor) และไดโอด (Diodes) มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ ซึ่งมีขนาดเล็ก มีราคาถูกลงและทำงานได้เร็วขึ้น ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์จึงเล็กตามลงไปด้วย ในการทำงานจะใช้วงแหวนแม่เหล็ก สำหรับเก็บข้อมูลและใช้เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูล นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มอุปกรณ์ในการรับข้อมูล และอุปกรณ์ในการแสดงผลลัพธ์อีกมากมาย มีการใช้เครื่องพิมพ์ จานแม่เหล็ก บัตรเจาะรู จอภาพ และแป้นพิมพ์เป็นเครื่องปลายทางในยุคนี้ได้เปลี่ยนจากการสั่งงานด้วยภาษาเครื่องเป็นการใช้สัญลักษณ์แทนจึงทำให้การสั่งงานง่ายขึ้นและมีภาษาระดับสูงบางภาษาเกิดขึ้นในยุคนี้เช่นกัน
ค ) ยุคที่สาม (Third Generation) เริ่มในปี คศ.1965 ในยุคนี้มีการนำเอาวงจรผนึกมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ ทำให้คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็กลงไปอีก ความเร็วก็สูงขึ้นและราคาก็ลดลงไปอีก มีการพัฒนาโปรแกรมกว้างขวางขึ้น และมีการเริ่มใช้ภาษาระดับสูงมาช่วยในการเขียนโปรแกรม จึงมีหลายบริษัทเริ่มผลิตโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ในการทำงาน
4.ยุคที่ สี่ (Fourth Generation) เริ่มตั้งแต่ปี คศ. 1976 มีการนำเอาแผงวงจรรวมมาใช้แทนวงจรผนึก และมีการปรับปรุงอุปกรณ์อื่นๆ ให้มีความสามารถสูงขึ้น จึงทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนหน่วยความจำจากวงแหวนแม่เหล็กมาเป็นหน่วยความจำสารกึ่งตัวนำ มีการผลิตไมโครโพรเซสเซอร์ขึ้นทำให้มีการสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer) และ ขนาดเล็ก(Microcomputer)ขึ้นมาขายเพื่อความเหมาะสมในการใช้งานในแต่ละประเภทในยุคนี้มีประชาชนสนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น ทำให้มีการใช้อย่างแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ นายแพทย์ นักธุรกิจ เป็นต้น

2.1.2 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จะพบว่าคอมพิวเตอร์ได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และทางด้านซอฟต์แวร์ เพื่อให้ทันสมัยและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านฮาร์ดแวร์นั้นได้มีวิวัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงดังนี้
ปี คศ. 1981 ได้ผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นไอบีเอ็มพีซีขึ้น โดยบริษัทอินเทล ในรุ่นนี้ใช้ CPU เบอร์ 8088 ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของเครื่องพีซีในปัจจุบัน ปี คศ. 1982 ได้พัฒนาเป็นรุ่นไอบีเอ็มพีซีเอ็กซ์ที (IBM PC/XT) มีการออกแบบวงจรภายในใหม่ ให้มีขนาดเล็กและทำงานรวดเร็วขึ้น แต่ยังคงใช้ CPU เบอร์ 8088 ของอินเทล เครื่องรุ่นนี้สามารถติดตั้งฮาร์ดดิสก์ได้ถึง 10 เมกกะไบต์ และสำหรับการเก็บข้อมูลในฟลอปปีดิสก์ได้มีการเปลี่ยนไปจากเดิม คือ 8 เซกเตอร์ต่อแทรก เป็น 9 เซกเตอร์ต่อแทรก ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นเป็น 360 กิโลไบต์ ปี คศ. 1985 ได้พัฒนาเป็นรุ่นไอบีเอ็มพีซีเอที (IBM PC/AT) ในรุ่นนี้ได้เปลี่ยนไปใช้ CPU เบอร์ 80286 ซึ่งเป็นตัวใหม่ของบริษัทอินเทล ในการเก็บข้อมูลก็มีการเพิ่มฮาร์ดดิสก์ ให้มีความจุเพิ่มขึ้นเป็น 20 เมกะไบต์ ฟลอปปีดิสก์ก็สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 1.2 เมกกะไบต์ ทำให้มีประสิทธิภาพสูงและทำงานเร็วกว่ารุ่นไอบีเอ็มเอ็กซ์ที ปี คศ. 1987 บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์รุ่น PS/2 ในรุ่นนี้ฮาร์ดดิสก์จะมีความจุมากขึ้น ฟลอปปีดิสก์ก็เพิ่มความจุจากเดิม 720 กิโลไบต์ เป็น 1.44 เมกกะไบต์ และเปลี่ยนเป็นแผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว ปี ต่อมา ได้พัฒนาเป็นเครื่องที่ใชไมโครโพรเซสเซอร์เบอร์ 80386 ของอินเทล ซึ่งมีขนาด 32 บิต และมีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องเอทีมาก แต่ก็มีปัญหาหนึ่งของเครื่อง 386 คือระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นที่ผ่านมาถูกพัฒนาขึ้นมาบนเครื่องพีซีธรรมดาเท่านั้น โปรแกรมเหล่านั้นจึงไม่สามารถใช้ความสามารถของซีพียู 80386 ได้เต็มที่นักจะมีก็แต่ความเร็วที่สูงขึ้นเท่านั้น ต่อจากนั้นได้พัฒนาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 486 เครื่องพีซีรุ่นนี้ อาจจะเรียกใหม่เป็น ซูเปอร์ไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากในตระกูลนี้มีความสามารถที่เทียบเท่ากับเวิร์กสเตชั่น หรือมินิคอมพิวเตอร์บางรุ่น และในรุ่นนี้มีความเร็วสู่งกว่ารุ่น 80386 มาก สำหรับการทำงานเป็นการทำงานแบบ 32 บิต ปัจจุบัน บริษัท อินเทล ได้พัฒนาเครื่องพีซี586 (Pentium)ขึ้นมาเพื่อการใช้งานกับแอพพลิเคชั่นบนวินโดวส์โดยเฉพาะและรองรับความเร็วของพีซียูได้สำหรับในปัจจุบันรุ่นนี้เป็นรุ่นที่กำลังได้รับความนิยมในการทำงานค่อนข้างสูง





2.2 ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยผ่อนแรงสมองของมนุษย์ได้โดยจะทำตามคำสั่งที่ป้อนลงไป สำหรับคำว่าคอมพิวเตอร์นั้นมีผู้นำมาแปลเป็นภาษาไทยไว้หลายคำ เช่น เครื่องจักรประมวลผล เครื่องคณิตกลจักร เครื่องคณนาสมองกล เครื่องประมวลผลอัตโนมัติ แต่ไม่มีคำใดเป็นที่ยอมรับ จึงได้ใช้คำว่า “คอมพิวเตอร์” เป็นคำทับศัพท์ในภาษาไทยตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา แต่ในปี 2529 ทางราชบัณฑิตยสถาน ได้บัญญัติคำแปลของ “ คอมพิวเตอร์ ” ว่า “ คณิตกรณ์ ”
2.2.1 คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
จากการที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลายนั้นย่อมหมายถึงว่า คอมพิวเตอร์จะต้องมีคุณสมบัติที่เด่น และมีประโยชน์ในการทำงาน จึงทำให้คอมพิวเตอร์มีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของเรามาก สำหรับคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์นั้นมีดังต่อไปนี้
ก ) ความรวดเร็วในการทำงาน
สำหรับความรวดเร็วของการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น ได้มีการพัฒนามาดังนี้
ปี คศ. 1951-1958 เรียกว่า หนึ่งในพันวินาที [ Millisecond ]
ปี คศ. 1958-1964 เรียกว่า หนึ่งในล้านวินาที [ Microsecond ]
ปี คศ. 1964-1971 เรียกว่า หนึ่งในพันล้านวินาที [ Nanosecond ]
ปัจจุบัน เรียกว่า หนึ่งในล้านล้านวินาที [ Picosecond ]
ข ) ความถูกต้องและเชื่อถือได้
ในการป้อนข้อมูลให้เครื่องทำงาน ถ้าเราป้อนข้อมูลถูกต้องเขียนคำสั่งชัดเจนไม่ผิดพลาดผลลัพธ์ที่ได้ก็ถูกต้องเช่นเดียวกัน และนอกจากนั้นยังรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและรายจ่ายลงไปด้วย
ค ) ช่วยในการตัดสินใจ
การทำงานบางอย่างในบางครั้งจะไม่สามารถตัดสินใจได้ในทันที่ทันใด เพราะอาจจะไม่ทราบผลที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า แต่ถ้าเรามีคอมพิวเตอร์มาช่วยก็จะสามารถช่วยให้เราได้เห็นผลล่วงหน้าที่จะเกิดขึ้น และช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้
ง ) สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจะพบว่าตามหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลหรือว่าเอกชนจะมีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้มากมาย ซึ่งแต่เดิมนั้นการจัดเก็บก็จะต้องทำในลักษณะการบันทึกหรือจัดเก็บลงในสมุด เพราะยังไม่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ ดังนั้นปัญหาที่ตามมาก็คือ เมื่อมีข้อมูลที่ต้องจัดเก็บมาก ถ้าต้องการค้นหาข้อมูลใด ๆ ก็จะทำได้ช้า และเปลืองสถานที่ที่ใช้ในการจัดเก็บเอกสารเหล่านั้นด้วย ที่จริงแล้วในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นสามารถที่จะเก็บบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ลงไปได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นประวัตินักเรียน ประวัติพนักงาน สินค้าต่าง ๆ ในสต็อกสินค้า หรือทะเบียนราษฎร์ และเมื่อใดที่ต้องการค้นหาข้อมูลผู้ใช้ก็สามาเรียกมาใช้ได้ทันที ซึ่งจะทำให้รวดเร็วกว่าและประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บอีกด้วย
จ ) มีผลกำไรมาก
ถึงแม้ว่าในอดีตนั้นคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีใหม่ที่มีราคาแพงมากในการที่จะลงทุนชื้อมาใช้งาน แต่ในปัจจุบันนี้จะพบว่าราคาของคอมพิวเตอร์นั้นได้ลดลงไปมากแต่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้น ถ้าเรารู้จักรนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งานแล้ว จะพบว่าการลงทุนชื้อคอมพิวเตอร์มาใช้งานนั้นไม่ได้เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า เนื่องมาจากคอมพิวเตอร์สมมารถทำงานได้รวดเร็ว จึงทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วด้วย ทำให้เรามีผลกำไรมากในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนั้นยังช่วยลดต้นทุนในการทำงานบางอย่างอีกด้วย
ฉ ) ลดค่าใช้จ่าย
เมื่อมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในบริษัทต่าง ๆ สิ่งที่จะพบเห็นก็คือ พนักวานหนึ่งคนจะต้องทำงานในหลาย ๆ ด้านได้ภายในคอมพิวเตอร์เพียง 1 เครื่องเท่านั้น ทำให้ทางบริษัทลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานมาทำงาน นอกจากนั้นยังเป็นการลดจำนวนพนักงาน ลดเงินเดือน ลดค่าสวัสดิการต่าง ๆ ลงไปด้วย แต่ผลที่ได้กลับมานั้น คือ สามารถทำงานได้รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
2.2.2 ปัญหาจากการใช้คอมพิวเตอร์
ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในการทำงานมากเพียงใด แต่คอมพิวเตอร์ก็ก่อให้เกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน สำหรับปัญหาที่สำคัญและมักจะพบได้บ่อย มีดังนี้
ก ) มนุษย์จะขาดความสำคัญลงไป เพราะงานในปัจจุบันที่มนุษย์ทำได้ คอมพิวเตอร์ก็สามรถทำได้เช่นเดียวกัน นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์ยังทำได้รวดเร็วและถูกต้องกว่ามนุษย์อีกด้วย
ข ) การนำคอมพิวเตอร์มาใช้จะทำให้คนตกงานได้มากขึ้น ซึ่งที่จริงแล้วการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานแทนมนุษย์นั้น คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานทุกอย่างแทนมนุษย์ได้ทั้งหมด งานบางอย่างคอมพิวเตอร์ก็ยังไม่สามารถทำแทนมนุษย์ได้ แต่ตามบริษัทต่าง ๆ ต้องการชื้อคอมพิวเตอร์มาใช้เพราะราคาของคอมพิวเตอร์นั้นถูกลงไปเรื่อย ๆ ไม่เหมือนกับเงินเดือนของพนักงานจะมีแต่เพิ่มสูงขึ้นไป
ค ) ทำให้มนุษย์ไม่มีโอกาสแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เนื่องจากต้องทำตามโปรแกรมหรือคำสั่งของคอมพิวเตอร์เท่านั้น
ง ) เกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คนที่ใช้คอมพิวเตอร์มานานและรู้จัก
คอมพิวเตอร์ดี ก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์มาประกอบอาชญากรรมได้ เช่น การแก้ตัวเลขเงินฝากในธนาคาร การแก้ผลสอบของนักเรียน เป็นต้น
2.2.3 ประเภทของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันนี้ จะพบว่ามีหลายประเภทหลายแบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกได้ตามต้องการ แต่ถ้าต้องการแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ตามการสร้างแล้วสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
ก ) ดิจิตอล (Digital Computer)
ข ) อนาลอก (Analog Computer)
ค ) ผสม (Hybrid Computer)
สำหรับการแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์นั้น มักจะดูจากลักษณะการทำงานมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งซึ่งอาจดูจากประเภทของข้อมูลที่รับเข้ามาประมวลผลว่าเป็นข้อมูลชนิดใด นอกจากนั้นยังดูถึงการเก็บข้อมูล การแสดงข้อมูล และการนำไปประยุกต์ใช้งานอีกด้วย สำหรับการทำงานและข้อแตกต่างของคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 ประเภทมีดังนี้
ก ) คอมพิวเตอร์ชนิดดิจิตอล ( Digital Computer)
คอมพิวเตอร์ชนิดดิจิตอลเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีการคำนวณโดยการนับจำนวนโดยตรง ข้อมูลที่นับได้จะเก็บเป็นรหัสตัวเลขฐาน 2 คือ มีเลข 0 กับเลข 1 การประมวลผลจะทำงานต่อเนื่องกันไป และมีการเก็บบันทึกข้อมูลไว้ให้อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับงานที่นำไปใช้ด้วย เช่น ใช้ในการจองสายการบิน การควบคุมการยิงขีปนาวุธ การพยากรณ์สภาพภูมิอากาศ
ข ) อนาลอก (Analog Computer)
คอมพิวเตอร์ชนิดอนาลอกเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยการรับข้อมูลแบบนับจำนวนที่ต่อเนื่องกัน ซึ่งจะนำข้อมูลที่วัดได้มาแปลเป็นค่าตัวเลข เช่น การวัดอุณหภูมิของอากาศการวัดแรงดันไฟฟ้า การวัดความดังของเครื่องเสียงรถยนต์ การวัดปริมาณอากาศที่เป็นพิษ เป็นต้น ซึ่งผลจากการวัดที่ได้นั้นจะมีความละเอียดค่อนข้างมาก จึงเหมาะกับงานทางด้าน
วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และทางด้านคณิตศาสตร์ เนื่องจากงานเหล่านี้จะต้องใช้ค่าต้วเลขที่ละเอียดมีจุดทศนิยมหลายตำแหน่ง


ค ) คอมพิวเตอร์แบบผสม ( Hybrid Computer)
คอมพิวเตอร์แบบผสม เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำลักษณะการทำงานของแบบดิจิตอลและแบบอนาลอกมาผสมกัน ลักษณะการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบนี้จะมีการรับข้อมูลเข้าเครื่องหรือมีการแสดงผลข้อมูลออกมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้คอมพิวเตอร์แบบนี้ยังมีความสามารถในด้านการคำนวนที่ถูกต้องแม่นยำ และสามารถทำงานตามโปรแกรมที่ซับช้อนได้สำหรับงานที่ใช้คอมพิวเตอร์แบบผสม หรือไฮบริดนั้น มักจะเป็นงานเฉพาะด้าน เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ การฝึกนักบิน ใช้ในการควบคุมการทำงานทางด้านอุตสาหกรรม หรืออาจใช้ในวงการแพทย์ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์มีอยู่หลายประเภทตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันส่วนมากในปัจจุบันนี้จะเป็นคอมพิวเตอร์ชนิดดิจิตอลเท่านั้น สำหรับความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์ชนิดดิจิตอลและคอมพิวเตอร์ชนิดอนาลอกนั้นพอสรุปได้ดังนี้
ข้อดีของคอมพิวเตอร์ชนิดดิจิตอล
1. มีความคล่องตัวในการทำงาน
2 มีความละเอียดและความเร็วในการทำงานสูง
3. เก็บข้อมูลได้มาก
4. มีความสึกหรอในการใช้งานน้อย
ข้อเสียของคอมพิวเตอร์ชนิดดิจิตอล
1. ราคาค่อนข้างแพง
2. การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานค่อนข้างอยาก
3. มีความผิดพลาดในด้านการปัดเศษทศนิยม
ข้อดีสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดอนาลอก
1. ได้ผลลัพธ์ทันทีหลักจากที่ป้อนข้อมูลเข้าไป
2. ผลลัพธ์ที่ได้ไม่มีการผิดพลาด
3. ราคาถูก ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างโปรแกรม
4. ข้อเสียของการสร้างคอมพิวเตอร์ชนิดอนาลอก
5. มีความละเอียดถูกต้องแม่นยำน้อย
6. เก็บข้อมูลได้น้อย
7. มีความสึกหรอในการใช้งานได้มาก
8. ใช้กับงานเฉพาะด้านเท่านั้น
9. นำไปใช้ร่วมกับงานอื่นค่อนข้างยาก
นอกจากจะแบ่งคอมพิวเตอร์ออกเป็นชนิดแล้ว ยังสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ตามลักษณะการใช้งานได้อีก 2 ชนิด คือ
ก ) คอมพิวเตอร์เฉพาะงาน [ Special Purpose Computer ]
หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะโปรแกรม หรือคำสั่งก็จะใช้เฉพาะเรื่องเท่านั้น เช่น ใช้ในการควบคุมการบิน ใช้ควบคุมยานอวกาศ ใช้ในการควบคุมการเดินเรือ หรือหุ่นยนต์ เป็นต้น
ข ) คอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ [ General Purpose Computer ]
หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลต่าง ๆ ได้จำนวนมาก และใช้ได้กับงานเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานด้านวิทยาศาสตร์ ด้านธุรกิจ ด้านทหาร ด้านอวกาศ เช่น ทำเช็คเงินเดือน ออกใบเสร็จรับเงิน ทำภาษี คิดโบนัส คิดค่าประกันสังคม เป็นต้น
ขนาดของคอมพิวเตอร์
2.2.4 ขนาดของคอมพิวเตอร์
การแบ่งคอมพิวเตอร์ออกตามขนาดนั้น ไม่ได้แบ่งว่ามีขนาดใหญ่หรือเล็ก แต่จะแบ่งจากขนาดของหน่วยความจำและอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับและแสดงข้อมูล ดังนั้นการที่จะเลือกคอมพิวเตอร์ขนาดใดมาใช้งานนั้น จะต้องคำนึงถึงงานด้วยว่า มีความซับช้อน ยุ่งยาก ต้องใช้หน่วยความจำในการเก็บข้อมูลมากหรือไม่ ถ้าเรามีการเลือกขาดคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานแล้ว งานที่ได้ก็จะมีประสิทธิภาพสูงและได้ผลรวดเร็ว ถูกต้อง ขนาดของคอมพิวเตอร์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขนาดดังนี้
ก ) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ( Super Computer )
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสามารถประมวลผลได้มากที่สุด ซึ่งส่วนมากแล้วจะผลิตมาใช้กับงานเฉพาะด้านเท่านั้น เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ยุ่งยากซับช้อน และต้องมีการคำนวณมาก งานออกแบบเครื่องบิน งานวิจัยทางด้านนิวเคลียร์ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้จะมีราคาที่ค่อนข้างแพงมาก ดังนั้นจึงมีใช้ไม่แพร่หลายมากนัก
ข ) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ( Mainframe Computer )
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง มีความเร็วในการทำงานและมีหน่วยความจำสูง เหมาะกับงานขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร
ค ) มินิคอมพิวเตอร์ ( Mini Computer )
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดรองลงมา มีขนาดหน่วยความจำน้อยกว่า 2 แบบแรก แต่ก็มีความรวดเร็วในการประมวลผลสูง มักจะใช้กับงานที่มีข้อมูลไม่มาก เช่น การควบคุมอุปกรณ์ในการทดลอง การควบคุมเครื่องจักรในโรงงาน เป็นต้น
ง ) ไมโครคอมพิวเตอร์ ( Micro Computer )
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่มีประสิทธิภาพสูง ปัจจุบันเป็นเครื่องที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบา ราคาไม่แพ่ง สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายและสะดวก บางรุ่นมีลักษณะเป็นกระเป๋าหิ้วหรือที่เรียกว่า Note Book สามารถพกพาได้ สำหรับงานที่จะใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ส่วนมากแล้วจะเป็นงานไม่ใหญ่มาก เช่น งานในสำนักงานทั่วไป งานเก็บข้อมูลต่าง ๆ ปัจจุบันนี้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาออกมาหลายแบบหลายรุ่น เพื่อให้ผู้ใช้เลือกชื้อได้และมีการพัฒนารุ่นต่าง ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา
สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้นสามารถแบ่งแยกตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
จ ) คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ [ Desktop Computer ]
เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแป้นพิมพ์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้ทั่วไป
ฉ ) แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ [ Laptop Computer ]
เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบ ชนิดจอภาพผนึกเหลว มีน้ำหนักของเครื่องเบา ประมาณ 3-8 กิโลกรัม
ช ) โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ [ Notebook Computer ]
เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่และมีความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว และแบบหลายสี โน๊ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือนกับแล็ปแท็ป
ซ ) ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ [ Palmtop Computer ]
เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรมเป็นสมุดจดบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูล ซึ่งสามารถพกพาติดตัวไปได้สะดวก ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้เช่นเดียวกัน
2.3 องค์ประกอบในการทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่าง สมบรูณ์นั้น จะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วน
ใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ
2.3.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ประกอบไปด้วย จอภาพ ชุดซีพียู เครื่องพิมพ์
และแผ่นดิสก์
2.3.2 ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมต่าง ๆ ที่ไว้ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ
2.3.3 พีเพิลแวร์ (Peopleware) ซึ่งหมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานป้อนข้อมูล นักเขียนโปรแกรม หรือนักวิเคราะห์ออกแบบระบบงานต่าง ๆ บนคอมพิวเตอร์
2.4 ส่วนประกอบของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware)
2.4.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ก ) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ข ) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
ค ) หน่วยความจำ (Memory Unit)
ง ) หน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit)











ภาพประกอบ 2 แสดงการทำงานของแต่ละหน่วย








ก ) หน่วยรับข้อมูล
ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคำสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในภายหน่วย
ความจำ เพื่อเตรียมประมวลผลข้อมูลตามที่ต้องการ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุนนั้นมีอยู่หลาบยประเภทด้วยกัน สำหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้ Keyboard Disk Drive Magnetic Tape Card Reader Mouse Touch Screen Scanner
ข ) หน่วยประมวลผลกลาง
ทำหน้าที่ในการคำนวณและประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ
หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ในการดูแล ควบคุมลำดับขั้นตอนของการประมวลผล และการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในหน่วยประมวลผลกลางและช่วยประสานงานระหว่างหน่วยประมวลผลกลางกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์ในการแสดงผล อุปกรณ์ในการแสดงผล และหน่วยความจำสำรอง
หน่วยคำนวณและตรรก ทำหน้าที่ในการคำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่งมาจากหน่วยควบคุม หน่วยความจำ
ค ) หน่วยความจำ
ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆที่รับจากภายนอกมาเก็บไว้เพื่อประมวลผลและยังเก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น
หน่วยความจำหลัก เป็นหน่วยความจำที่มีอยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการเก็บคำสั่งหรือข้อมูล แบ่งออกเป็น ROM หน่วยความจำแบบถาวร
RAM หน่วยความจำแบบชั่วคราว
หน่วยความจำสำรอง เป็นหน่วยความจำที่อยู่นอกเครื่อง มีหน้าที่ช่วยให้หน่วยความจำหลักสามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น
ง ) หน่วยแสดงผลลัพธ์
ทำหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณและประมวลผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้นั้นมีดังนี้ เช่น จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer)
แผ่นดิสก์ (Diskette) แผ่นซีดีรอม (CD-ROM) เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการลงบนกระดาษ (Plotter)
นอกจากจะมีการแบ่งส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ตามหน้าที่การทำงานแล้ว ยังสามารถแบ่งเป็นส่วนประกอบต่างๆ ตามโครงสร้างได้อีก โดยที่ฮาร์ดแวร์จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วนด้วยกัน คือ จอภาพ (Monitor) ชุดซีพียู (CPU Set) แป้นพิมพ์ (Keyboard)

จอภาพ (Monitor) ส่วนของจอภาพนั้นจะมีลักษณะเหมือนกับจอ
โทรทัศน์ใช้หลอดภาพสุญญากาศเป็นตัวหลักในการแสดงผล สำหรับจอภาพที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ Monochrome Monitor เป็นจอภาพที่ให้สีได้เพียงสีเดียว คือ ส้ม-ดำ , เขียว-ดำ หรือ ขาว-ดำ แต่ในปัจจุบันจอภาพประเภทนี้ได้เลิกผลิตไปแล้ว Color Monitor เป็นจอภาพที่ให้สีได้หลายสี และมีความละเอียดมากกว่าจอ Monochrome ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก และมีราคาแพง จอประเภทนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า จอ VGA หรือ Super VGA
ชุดซีพียู (CPU Set) ชุดซีพียูหรือที่เห็นรูปร่างภายนอกนั้นมีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า เคส (Case) ซึ่งมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีทั้งแนวนอนและแนวตั้ง เคสที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้จะมีอยู่ 5 แบบคือ Full Tower Medium Tower Mini Tower Desktop Slimline
เคส แบบ Full Tower จะมีรูปร่างสูงที่สุดในกลุ่มที่เป็นเคสแบบ Tower และเคสแบบ Medium และ Mini ก็จะมีรูปร่างเล็กลงมาตามลำดับ สำหรับเคสชนิดนี้จะมีลักษณะสูงขึ้นไปด้านบนหรือเป็นแนวตั้ง แต่เคสแบบ Desktop และ Slimline จะมีลักษณะแบนราบตามแนวนอน ซึ่งเราสามารถวางจอภาพทับบนเคสชนิดนี้ได้ ทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการวางจอภาพไปได้เป็นอย่างมาก แต่ข้อเสีย คือ ถ้าเราต้องการเปิดฝาเคสเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ใดๆภายในเคส เราจะต้องยกจอภาพออกมาก่อนจึงจะเปิดเคสได้ เคสที่มีขนาดใหญ่จะมีข้อดีตรงที่สามารถเพิ่มอุปกรณ์ให้กับระบบได้มากกว่าเคสที่มีขนาดเล็ก เช่น อาจจะมีการติดตั้งฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 2 หรือ 3 เพิ่มลงไป หรืออาจจะมีการเพิ่มลงไปหรืออาจจะมีการเพิ่มซีดีรอมไดร์ฟ หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นๆ เข้าไปในเคสได้อย่างสะดวกสบาย
แป้นพิมพ์ (Keyboard) แป้นพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ใช้เป็นสื่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ เมื่อเราป้อนคำสั่งผ่านทางแป้นพิมพ์ไปเครื่องก็จะนำคำสั่งไปปฏิบัติตามเราและให้ผลลัพธ์ออกมาทางจอภาพ สำหรับแป้นพิมพ์มีอยู่ 2 รุ่น ด้วยกัน คือ รุ่น 84 Keys ปัจจุบันเลิกแล้ว รุ่น 101 - 106 Keys
2.4.2 ซอฟต์แวร์ (Software)
หมายถึง โปรแกรมคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่อคอมพิวเตอร์หรือสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการโดยจะทำอย่างอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพซอฟต์แวร์จะมีลักษณะเป็นชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ที่เขียนมาโดยใช้ภาษาทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ สำหรับซอฟต์แวร์นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ


ก ) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
หมายถึง โปรแกรมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละระบบนั้น จะใช้โปรแกรมระบบที่แตกต่างกันออกไปแต่การทำงานของโปรแกรมระบบจะคล้ายคลึงกัน เพียงแต่ต่างกันที่คำสั่งและระบบที่ใช้เท่านั้น
ข ) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนขึ้นมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ เช่น การเขียนโปรแกรมคิดภาษี การเขียนโปรแกรมเก็บรายชื่อสินค้าในสต๊อก เป็นต้น
2.4.3 พีเพิลแวร์ (Peopleware)
หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่และมีความรับผิดชอบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรู้ การฝึกอบรม และประสบการณ์ในการทำงาน พีเพิลแวร์จะประกอบไปด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
ผู้จัดการ (Manager)
นักวิเคราะห์ออกแบบระบบ (System Analyst)
นักเขียนโปรแกรม (Programmer)
วิศวกรคอมพิวเตอร์ (Computer Engineer)
พนักงานควบคุมเครื่อง (Computer Operator)
ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน (Operation Supervisor)
พนักงานเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator) ฯลฯ
2.5 ส่วนประกอบของคำสั่ง (Software) และบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
ส่วนประกอบของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์( Software ) หมายถึงส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องมือคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “ โปรแกรม ” ก็ได้ ซึ่งหมายถึง คำสั่งหรือชุดของคำสั่งสามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งซึ่งจะต้องสั่งเป็นขั้นเป็นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วน ซึ่งจะเกิดชิ้นงานชิ้นหนึ่งเรียกว่าโปรแกรมผู้เขียน โปรแกรมดังกล่าวก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer ) สำหรับการเขียนโปรแกรมนั้นต้องใช้ภาษษที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะซึ่งหมายถึง โปรแกรมที่เขียนข้นมาก็จะนำไปใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
2.5.1 ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ
( System Software ) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software ) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ก ) ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software )
หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาดร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมแต่ละโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้
OS ( Operating System ) คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงสุด และสามารถใช้อุปกรณ์ทุกส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์มาทำงานได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นยังเข้ามาช่วยจัดสรรการใช้ทรัพยากรในเครื่องและช่วยจัดการกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญๆ ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเครื่องจะสามารถอ่านไฟล์ต่างๆ หรือสามารถใช้ชอฟต์แวร์ต่างๆได้จะต้องผ่านการดึงระบบปฏิบัติการออกมาฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำก่อน ปัจจุบันนี้มีโปรแกรมระบบอยู่หลายตัวด้วยกัน ซึ่งแต่ละตัวนั้นก็เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการเหมือนกัน ดังนี้
Dos ( Disk Operating System ) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตออกมาพร้อมกับเครื่องพีซีของไอบีเอ็มรุ่นแรกๆ จากนั้นก็มีการพัฒนารุ่นใหม่ออกมาเรื่อยๆจนกระทั้งถึงเวอร์ชั่นสุดท้ายคือ เวอร์ชั่น 6.22 หลังที่มีการประกาศใช้วินโดวส์ 95 ก็คงไม่ผลิต DOS เวอร์ชั่นใหม่ออกมาแล้ว โดยทั่วไปจะนิยมใช้วินโดวส์ 3.X ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมเสริมชนิดที่ใช้ในดอส
UNIX เป็นระบบ OS ที่สามารถใช้กันได้หลายคน ( Multiuser ) หรือเป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีชื่อและพาสเวิร์ดส่วนตัว และสามารถเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ และมี Modem เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลหรือโอนย้ายข้อมูล นิยมใช้อย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐบาล หรือบริษัทเอกชนที่มีระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ๆ ใช้ในระบบยูนิกซ์เองก็มีวินโดวส์อีกชนิดหนึ่งใช้เรียกว่า X Windows สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ระบบยูนิกซ์ในเครื่องพีซีที่บ้านก็มีเวอร์ชั่นสำหรับพีซีเรียกว่า Linux ซึ่งจะมีคำสั่งพื้นฐานคล้ายๆกับระบบยูนิกซ์
Linux เป็นระบบปฏิบัติการตัวหนึ่งเช่นเดียวกันกับ Dos. Windows และ Unix แต่ Linux นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่ง ในปัจจุบันนี้มีการใช้ Linux กันมาก เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานระบบ Linux ได้พัฒนาขึ้นมามากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU ( GNU ‘s NOT UNIX ) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ ( Free Ware ) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรมระบบ Linux และนอกจากนั้น Linux ยังสามารถทำงานได้บน CPU ทั้งตระกูล 3 ตระกูล คือบน CPU ของอิลเทล ( PC Intel ) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ ( Digital Alpha Computer ) และซันสปาร์ค ( SUN SPARC ) ปัจจุบันนี้ได้มีการนำระบบปฏิบัติการ Linux ไปประยุกต์ใช้เป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายสำหรับงานด้านต่างๆ เช่น งานด้านการคำนวน สถานีงาน สถานีบริการต่างๆ ระบบอินเทอร์เน็ต ระบบอินทราเน็ตภายในองค์กรใช้ในการเรียนการสอน การทำวิจัยทางคอมพิวเตอร์ การพัฒนาโปรแกรม เป็นต้น
LAN เป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายเช่นเดียวกัน แต่จะใช้เชื่อมโยงกันใกล้ๆ เช่น ในอาคารเดียวกันหรือระหว่างอาคารที่อยู่ใกล้กัน โดยใช้สาย LAN เป็นตัวเชื่อมโยง
WINDOWS เป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาถึงรุ่น WINDOWS 2000 แล้ว บริษัทไมโครซอฟต์ได้เริ่มประกาศใช้ MS WINDOWS 95 โดยมีความคิดที่ว่าจะออกมาแทน MS –DOS และวินโดวส์ 3.X ที่ใช้ร่วมกันอยู่แต่เป็นวินโดวส์ที่มีลักษณะพิเศษกว่าวินโดวส์เดิม บริษัทไมโครซอฟต์ไม่หยุดเพรียงแค่วินโดวส์ 95 แต่ได้มีการพัฒนาเพิ่มฟังชันใหม่ๆ เข้าไป ในที่สุดก็ออกระบบโอเอส ตัวถัดมาเป็น MS WINDOWS 98 และ MS WINDOWS 2000 ตามลำดับ โดยที่มีการติดตั้งและการใช้งานพื้นฐานไม่แตกต่างกันมากนัก จึงง่ายสำหรับผู้ใช้ในการปรับตัวเข้ากับระบบโอเอสใหม่ๆ
WINDOWS NT เป็นระบบ OS ที่ผลิตจากบริษัทไมโครซอฟต์เช่นกัน เป็นระบบ 32 บิต มีรูปลักษณ์เป็นกราฟิกที่ต้องใช้เมาส์คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไป แต่นิยมใช้ในระบบเวิร์กสเตชั่นมากกว่าในเครื่องพีซีทั่วไป
OS / 2 เป็นระบบ OS ที่ผลิตออกมาจากบริษัท IBM เป็นระบบ 32 บิต ที่รูปลักษณ์เป็นกราฟิกที่ต้องใช้เมาส์ คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไปเช่นกัน
ข ) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนขึ้นมาใช้เอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
User Program คือ โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนขึ้นมาใช้เอง โดยใช้ภาษาระดับต่างๆ ทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ภาษาใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานเหล่านั้น



Package Program คือ โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นหรือเขียนขึ้นมาโดยบริษัทต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมที่จะนำไปใช้งานต่างๆ ได้ทันที สามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภทด้วยกัน สำหรับรายละเอียดของโปรแกรมแต่ละประเภทนั้น มีรายละเอียดดังนี้ เช่น Word Processor ทำงานด้านการประมวลผลคำ สามารถทำเอกสาร รายงาน จดหมาย หนังสือต่าง ๆ , Spreadsheet ลักษณะ การใช้งานในทางคำนวณเป็นส่วนมาก , Graphic
โปรแกรม Graphic ส่วนมากแล้วจะเกี่ยวกับทางด้านงานออกแบบ เขียนแบบ วาดภาพ จัดทำสิ่งพิมพ์และจะเป็นทางด้านการนำเสนองาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานโฆษณา ทำ Slide Show หรือนำไปใช้กับระบบ Multimedia ได้ โปรแกรมกลุ่มนี้เป็นที่นิยมมาก , Game ปัจจุบันนี้มีโปรแกรมเกมต่างๆ มากมาย ทั้งแบบธรรมดา และแบบ 3 มิติ ซึ่งที่จริงแล้วโปรแกรมส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยคลายความเครียดในการทำงาน , โปรแกรมทางด้านการสร้างสถานการณ์จำลอง
เป็นโปรแกรมที่ให้ผู้เล่นได้ทดลองสร้างสถานการณ์จำลองของงานที่อาจจะเกิดขึ้นได้
โปรแกรมทางด้านการติดต่อสื่อสาร , เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้ตามสำนักงานต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชนในการนัดหมายประชุม การทำจดหมายเวียนไปตามฝ่ายต่างๆ , โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
โปรแกรมประเภทนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า CAI (Computed Instruction) เป็นโปรแกรมที่นำมาสอนให้กับนักเรียนในวิชาต่างๆ โดยที่นักเรียนจะเรียนกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์และมีครูเป็นผู้ชี้แนะ ทดสอบ และวัดความเข้าสนใจ รวมทั้งสรุปเนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนจากโปรแกรม CAI นี้
, โปรแกรมทางด้านการออกแบบ โปรแกรมนี้ได้เข้ามาช่วยออกแบบงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านวิศวกร สถาปัตยกรรมและงานออกแบบสินค้าต่างๆ
2.5.2 ประเภทของบุคลากร
Peopleware หรือบุคลากร หมายถึงเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่และมีความรับผิดชอบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรู้ การฝึกอบรม และประสบการณ์ในการทำงาน สำหรับบุคลากรในหน่วยงานจะแบ่งออกได้ดังนี้
ก ) ผู้จัดการ (Manager)
หรืออาจเรียกเป็นหัวหน้าแผนกหรือหัวหน้างานก็ได้ ซึ่งจะถือว่าหัวหน้างานนี้เป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากที่สุด และมีหน้าที่รับผิดชอบงานทุกด้าน ตั้งแต่การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยต้องเลือกเครื่องให้เหมาะสมกับงาน มีการประสานงานในฝ่ายต่างๆ และต้องดูแลรับผิดชอบผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในทุกตำแหน่ง และเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจทำงานในเรื่องต่างๆ รวมทั้งต้องดูแลทางด้านงบประมาณรายรับรายจ่าย รวมถึงโครงการ


ข ) นักวิเคราะห์ออกแบบระบบ (System Analyst)
หมายถึง ผู้ที่จะทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ระบบงาน ตลอดจนดูและรับผิดชอบระบบงานต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานระบบข้อมูล ตลอดจนประสานงานระหว่างผู้ใช้เครื่องกับหน่วยงานคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับระบบงานและระบบโปรแกรมเป็นอย่างดี มีความรู้กว้างขวางในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านธุรกิจ เช่น บัญชี การตลาด การบริหาร เป็นต้น นักวิเคราะห์ระบบจะต้องศึกษาถึงความเป็นไปได้ที่จะนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานในด้านเทคโนโลยี ด้านเวลา ด้านวิธีการดำเนินงาน ด้านค่าใช้จ่าย และบุคลากรที่จะทำงาน นอกจากนั้นยังต้องรวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อหาทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก และนักวิเคราะห์ออกแบบระบบจะต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอและจะต้องรู้จักกำหนดขั้นตอนในการทำงานขั้นตอนใดควรทำก่อนหรือหลัง ควรจัดเก็บข้อมูลไว้ ในสื่อชนิดใด ควรจัดพิมพ์ผลลัพธ์ของงานออกมาอย่างไร วิธีการประมวลผลข้อมูลควรใช้วิธีใด และมีวิธีการทำอย่างไรให้การทำงานเป็นไปตามระบบที่ได้วางไว้ ซึ่งนับได้ว่านักวิเคราะห์ออกแบบระบบนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง มีความรู้ในระบบที่จะทำการวิเคราะห์ และมีความเชี่ยวชาญในด้านคอมพิวเตอร์ด้วย
ค ) นักเขียนโปรแกรม (Programmer)
หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ในการเขียนคำสั่งโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องทำงานตามขั้นตอนที่ต้องการโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ และสำหรับโปรแกรมที่เขียนขึ้นมานั้นจะต้องเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์ออกแบบระบบต้องการด้วย และที่สำคัญคือ นักเขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจและมีความรู้ในหลักการต่างๆ ของการเขียนโปรแกรมเป็นอย่างดี สามารถแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆของโปรแกรมได้เมื่อเกิดปัญหา
ง ) วิศวกรคอมพิวเตอร์ (Computer Engineer)
เป็นผู้ที่จะต้องมีความรู้ทางด้านการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถแก้ไขให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตลอดเวลา ดังนั้นวิศวกรคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคและทางด้านอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ดีพอสมควร
จ ) นักงานควบคุมเครื่อง (Computer Operator)
คือผู้ที่จะทำหน้าที่บังคับควบคุมดูแลการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ การเปิดและปิดเครื่อง การนำข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ การใส่กระดาษเตรียมไว้ที่เครื่องพิมพ์ นอกจากนั้น พนักงานควบคุมเครื่องจะต้องมีหน้าที่ในการตรวจดูว่ามีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชิ้นใดที่ทำงานขัดข้องหรือมีการทำงานที่ผิดไปจากเดิม และสามารถหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมที่เกิดขึ้น และสามารถแก้ไขในเบื้องต้นได้ หรือถ้าพบข้อผิดพลาดของโปรแกรมแล้วแต่แก้ไขไม่ได้ ก็สามารถที่จะอธิบายให้นักเขียนโปรแกรมได้รู้ถึงข้อผิดพลาดเพื่อทำการแก้ไขต่อไปได้
ฉ ) ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน (Operation Supervisor)
หมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแลทั่วไปภายในห้องเครื่องคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ในการจัดแบ่งของแต่ละคนไม่ให้ทำงานก้าวก่ายกัน และยังทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลการเก็บรักษาสื่อเก็บข้อมูลชนิดต่างๆ เช่น เทป จานบันทึกข้อมูล แผ่นจานแม่เหล็กให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมจะใช้งานได้ทันที
ช ) พนักงานเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)
หมายถึง พนักงานที่มีหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลลงในสื่อต่างๆ เช่น เทป จานบันทึก บัตรบันทึก และแผ่นจานแม่เหล็ก เพื่อให้ข้อมูลนั้นพร้อมที่จะส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผลต่อไป พนักงานเตรียมข้อมูลเหล่านี้อาจจะต้องอาศัยความชำนาญในการทำงานมากพอสมควร เพราะขั้นตอนต่างๆ เป็นขั้นตอนที่สำคัญ จะทำผิดพลาดไม่ได้สำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์นั้นอาจจะมีมากกว่านี้ และอาจมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น แต่ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกอย่างไรในแต่ละตำแหน่งก็จะมีหน้าที่การทำงานที่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับหน่วยงาน องค์กร หรือบริษัทต่างๆ ว่าจะตั้งชื่อหรือแบ่งหน้าที่กันอย่างไร

3.การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ (รายละเอียดชุดการเรียนรู้การประกอบคอมพิวเตอร์ในภาคผนวก ข ด้านฮาร์ดแวร์) นำเสนอตามลำดับดังนี้
3.1 การเตรียมเคส
3.2 การติดตั้งเมนบอร์ด
3.3 การติดตั้งซีพียู
3.4 การติดตั้งแรม
3.5 การติดตั้งดิสก์ไดร์ฟ
3.6 การติดตั้งฮาร์ดดิสก์
3.7 การติดตั้งซีดีรอม
3.8 การติดตั้งการ์ดแสดงผล
3.9 การติดตั้งแป้นพิมพ์และเมาส์
3.10 การติดตั้งสายไฟต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์

4. การติดตั้งระบบปฏิบัติการและโปรแกรมระบบ (รายละเอียดชุดการเรียนรู้การประกอบคอมพิวเตอร์ในภาคผนวก ค ด้านซอฟต์แวร์) นำเสนอตามลำดับดังนี้
4.1 การติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows XP
4.2 การติดตั้งโปรแกรมระบบ
4.2.1 การติดตั้งโปรแกรมออฟฟิศ Office XP Thai
4.2.2 การติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส Antivirus McAfee v7.02.Retail
4.2.3 การติดตั้งโปรแกรมดูภาพ ACDsee 3.1
4.2.4 โปรแกรมฟังเพลง MP3 Winamp
4.2.5 โปรแกรมแปลภาษา อังกฤษ-ไทย Pal Thai 2002 Translator v3.2 Register
4.2.6 โปรแกรมแปลคำศัพท์ อังกฤษ-ไทย Thaisoft Dictionary 3.0
4.2.7 โปรแกรมดูเอกสารจากเวปไซต์ Adobe Arobat Reader5.1
4.2.8 โปรแกรมบีบอัดข้อมูลต่าง ๆ WinZip 8.1

5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ศิริกุล ไทพิทักษ์ (2530 : 48) ได้ทำการวิจัยเรื่องการศึกษาความต้องการและการใช้สื่อ
การเรียนการสอน ในการสอนสาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ ของอาจารย์ในสถานศึกษา สังกัดกรมการฝึกหัดครู ทำการศึกษาจากการประมวลประชากร ที่ทำหน้าที่สอนในภาควิชาอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาก่อสร้าง สาขาไฟฟ้า และสาขาโลหะ ของวิทยาลัยครูทั่วประเทศ ในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2530 จำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบเลือกคำตอบ แบบมาตรฐานส่วนประมาณค่าและส่วนปลายเปิด จำนวน 190 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามคืน 180 ฉบับ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับ สื่อการสอนที่สำคัญที่สุด คือ การขาดงบประมาณ ส่วนปัญหารองลงมา ได้แก่ การขาดชุดการเรียนรู้ ช่วยเหลือในการสอน
อำนาจ ทองผาสุข (2524 : 71-74) ได้ทำการวิจัย เรื่องปัญหาการสอนวิชาช่างไฟฟ้าภาคปฏิบัติระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในสถานอาชีวศึกษาของรัฐบาล เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย เป็นแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ในการเก็บข้อมูลจากอาจารย์ 276 คน ได้รับแบบสอบถามคืนมา 188 ฉบับ ผลการวิจัยพบว่า ในการสอนภาคปฏิบัติมีปัญหามากในเรื่องต่าง ๆ คือปัญหาการขาดแคลนตำราประกอบการสอนภาคปฏิบัติ ปัญหาเร่งด่วนที่ควรรีบแก้ไข ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลน อุปกรณ์ช่วยสอน เช่น ชุดการเรียนรู้ เครื่องมือ และวัสดุ ปัญหาจำนวนนักเรียนในการเรียนภาคปฏิบัติ มีมากเกินไป


สุวิทย์ สานติพิบูล (2532 : 52) ได้ทำการวิจัย เรื่อง การสร้างชุดทดลองเรื่องการทำ
ความเย็นตามหลักสูตรปริญญาตรี อุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ พ.ศ. 2532 แล้วนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลจากใบประเมินผลภาคปฏิบัติความเย็นทดลองการทำความเย็น และข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามผลการวิจัยปรากฏว่า
ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ชุดทดลองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากใบประเมิน
ประสิทธิภาพการสอนและคุณลักษณะของชุดทดลอง อยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก คะแนนจากใบประเมินผลภาคปฏิบัติ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 85.6 และข้อมูลที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 71 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 7/70
มนตรี สมดุลยกนก (2539 : 26) ได้ทำวิจัยเรื่อง การสร้างและหาประสิทธิภาพใบงานการทดลองวิชาปฏิบัติการวิศวกรรมการสื่อสาร เรื่องไฟเบอร์ออปติก และโทรคมนาคม ซึ่งเป็นวิจัยเชิงทดลอง เพื่อสร้างใบงานการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า ใบงานการทดลอง วิชาปฏิบัติวิศวกรรมสื่อสารเรื่องไฟเบอร์ออปติก และโทรคมนาคมที่สร้างมีประสิทธิภาพ 80.85/81.00 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการวิจัย
ประเวศ ยอดยิ่ง (2533 : 28) ได้ทำวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถภาพของครูช่างอุตสาหกรรม จำนวน 23 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ความสามารถ ในการสื่อการเรียนการสอน ทั้งประเภทวัสดุ เครื่องมือ และเทคนิคการใช้อย่างถูกต้อง ในด้านการผลิตสื่อมีความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของสื่อการเรียนการสอนจะผลิตต่อจุดประสงค์การสอน มีทักษะในการออกแบบ ผลิตสื่อ และสามารถทดสอบเพื่อทำการปรับปรุงคุณภาพของสื่อการเรียนการสอน ที่ผลิตขึ้นได้
สุรัตน์ นันตะสุคนธ์ (2530 : 28) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาปัญหาการสอนของครูช่างไฟฟ้ากำลัง ที่สอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในสังกัดกองวิทยาลัยเทคนิคกรมอาชีวศึกษา ประชากรของการวิจัย เป็นครูที่ทำหน้าที่ในการสอนสาขาช่างไฟฟ้ากำลัง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในวิทยาลัยเทคนิค 22 แห่ง จำนวน 260 คน โดยแบ่งเป็นครูช่างไฟฟ้ากำลัง 208 คน และครูในแผนกอื่น ๆ จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ผลการวิจัยปรากฏว่า ปัญหาด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน ปัญหาจำนวนเครื่องมืออยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ปัญหาการขาดงบประมาณ ปัญหาความพร้อมของจำนวนชุดทดลอง และอุปกรณ์ทดลองเป็นปัญหาอยู่ในเกณฑ์มาก



มนตรี สมดุลยกนก (2538 : 40) ได้ทำวิจัยเรื่อง การสร้างและหาประสิทธิภาพใบงานการทดลองวิชาปฏิบัติการวิศวกรรมการสื่อสาร เรื่องไฟเบอร์ออปติก และโทรคมนาคม ซึ่งเป็นวิจัยเชิงทดลอง เพื่อสร้างใบงานการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า ใบงานการทดลอง วิชาปฏิบัติวิศวกรรมสื่อสารเรื่องไฟเบอร์ออปติก และโทรคมนาคมที่สร้างมีประสิทธิภาพ 80.85/81.00 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการวิจัย
นภัทร วัจนเทพินทร์ (2533:43) ได้ทำการวิจัยเพื่อ สร้างและทดลองประสิทธิภาพของชุดทดลองเรื่องวงจรพัลส์ และสวิทซิ่ง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกช่างไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตนนท์บุรี กลุ่มทดลองสอนโดยใช้ประลองกลุ่มควบคุมสอนโดยไม่ใช้ชุดทดลองพบว่า กลุ่มทดลองใช้เวลาเรียนน้อยกว่ากลุ่มควบคุมเป็นไปตามสมมุติบานของการวิจัย ซึ่งจะเห็นได้ว่าการสอนด้วยชุดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน ภาคปฏิบัติ ทำการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อีกทั้งยังช่วยลดเวลาในการเรียนการสอน
เชษฐา บุญชวลิต (2540) ได้ศึกษาทำการสร้างชุดการเรียนรู้ และหาประสิทธิภาพชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่องการใช้เครื่องมือวัดไฟฟ้าวิชา ช 0278 ช่างเดินสายไฟฟ้าภายใน
อาคาร ประเมินผลโดยใช้นักศึกษาที่เรียนตามหลักสูตรของรายวิชา ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการใช้เครื่องมือวัดไฟฟ้า เรื่อง ช่างเดินสาย ไฟฟ้าภายในอาคาร
ได้ดีกว่าการเรียนภายในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว
สมพงษ์ ฤทธิ์มั่น (2532 : 52) ได้ทำการทดศึกษาทดลองใช้ชุดการเรียนรู้ เรียนด้วยตนเอง วิชาไฟฟ้ากระแสสลับ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์หาประสิทธิภาพชุดการเรียนที่สร้างขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ชุดบทเรียนที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพสูง
พจนา สังวรณ์กิจ (2530 : 80) ทดลองสอนโดยการใช้ชุดการเรียน พบว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียน มีความคิดสร้างสรรค์ ด้านการยืดหยุ่นในการคิด และความคิดริเริ่มสูงกว่าการสอนตามคู่มือครู
ชวลิต เข่งทอง (2532 : 40) ได้ทำการศึกษาทดลองใช้บทเรียนด้วยตนเองเรื่อง
“ การทดสอบเรื่องวัสดุช่าง ” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนที่สร้างขึ้น
กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรชั้นปีที่ 1 สาขาเครื่องกล ของวิทยาลัยเทคโนโลยี
อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระนครเหนือ ปีการศึกษา 2532 จำนวน 32 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า ชุดการเรียนด้วยตนเองที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด


จากแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของ
ชุดการเรียนรู้ และการขาดอุปกรณ์หรือเครื่องมือช่วยเหลือในการเรียนการสอน ผู้วิจัยจะนำแนวทางการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของ ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษา อาจารย์ หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ในด้านคอมพิวเตอร์และสามารถนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการพัฒนาในด้านการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ บรรลุตามจุดประสงค์ของงานวิจัยที่กำหนดไว้

บทที่ 1

ภูมิหลังและสภาพปัญหา
นโยบายการศึกษาของรัฐบาลต้องการปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้
อันเป็นเงื่อนไขไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ให้คนไทยทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะได้
เรียนรู้และฝึกอบรมได้ตลอดชีวิต และมีปัญญาเป็นทุนไว้สร้างงานและสร้างรายได้ และนำประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ และสังคมโดยยึดหลักการศึกษาสร้างชาติ สร้างคน และสร้างงาน
พัฒนาระบบเทคโนโลยีทางการศึกษาและเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษา ให้คนไทยทั้งในเมืองและชนบท ปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหลักการเรียนรู้ด้วยตนเองและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตเน้นพลัง ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนิสัยให้รักการอ่าน การจัดให้มีห้องสมุดศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และสื่อการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
(คำแถลงนโยบาย ของคณะรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี. 2544 )
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มีการดำเนินการต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ในด้านแนวคิดที่ยึด “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” และให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านตัวคนสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาความยากจน การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้พ้นจากวิกฤต พร้อมไปกับการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง และการสร้างระบบการบริหารจัดการภายในที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกระดับ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9. 2545 – 2549)
คุณภาพการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จะไม่บรรลุผลสำเร็จด้วยดี หากประชาชนการศึกษาอยู่ในระดับต่ำซึ่งในการพัฒนาการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายได้นั้น อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน เช่น ชุดการเรียนรู้ นับเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาการเรียนการสอนให้ไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาการศึกษา มีทักษะและประสบการณ์ในการทำงาน มีความรู้เฉพาะด้านตามศักยภาพเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ( นพรัตน์ เที่ยงตรง. 2533 : 1 )



จากการศึกษาปัญหาและความต้องการใช้สื่อการเรียนการสอนวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม ในสถานศึกษากรมสามัญศึกษา พบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่มีมาก คือ การขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในเรียน ได้แก่ สื่อการเรียนการสอน ชุดการเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นสื่อช่วยในการเรียนการสอน และสื่อชุดการเรียนรู้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ (นพรัตน์ เที่ยงตรง. 2533 : 1) จากสภาพปัญหาด้านจำนวนผู้สอน วัสดุการทดลอง และอุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอต่อการดำเนินการสอน ทำให้การพัฒนาประสิทธิภาพของการเรียนการสอนไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร แนวทางในการแก้ไขปัญหาแนวทางหนึ่งคือ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพโดยใช้ชุดการเรียนรู้ ควบคู่กับการเรียนการสอน ( ลัดดา ศุขปรีดี. 2526 : 137 ) ในการพัฒนาการเรียนการสอนดังกล่าว การสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้เป็นการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบแบบหนึ่ง ซึ่งยึดหลักความแตกต่างของบุคคล เน้นรูปแบบของการเรียนรู้ การจัดเรียนตามความพร้อม สามารถเรียนรู้ได้ตามขีดความสามารถของตนเอง ( ลัดดา ศุขปรีดี. 2526 : 26 )
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ ศึกษาความรู้ความเข้าใจในด้านต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนา ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ใช้เป็นแนวทางช่วยเหลือให้ความรู้ เสริมสร้างทักษะในด้านการประกอบคอมพิวเตอร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เป็นแนวทางในการศึกษาและพัฒนางานวิจัยในอนาคตต่อไปได้

ความมุ่งหมายในการวิจัย
ในงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์
2. เพื่อหาประสิทธิภาพ ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์

ข้อตกลงเบื้องต้น
ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีขอบเขตเนื้อหาดังนี้
1. ระบบปฏิบัติการ Windows XP
2. โปรแกรมสำนักงาน Office XP Thai
3. โปรแกรมป้องกันไวรัส Antivirus McAfee v7.02.Retail
4. โปรแกรมดูภาพ ACDsee 3.1
5. โปรแกรมดูหนัง VCD PowerDVD.XP4.0.1811
6. โปรแกรมฟังเพลง MP3 Winamp
7. โปรแกรมแปลภาษา อังกฤษ-ไทย Pal Thai 2002 Translator v3.2 Register
8. โปรแกรมแปลคำศัพท์ อังกฤษ-ไทย Thaisoft Dictionary 3.0
9. โปรแกรมดูเอกสารจากเวปไซต์ Adobe Acrobat Reader5.1
10. โปรแกรมบีบอัดข้อมูลต่าง ๆ WinZip 8.1

ความสำคัญของการวิจัย
ได้ชุดการเรียนรู้ประกอบและการติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ให้ความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อบุคคลดังต่อไปนี้
1. นักศึกษา สามารถนำความรู้ที่ได้จาก ชุดการเรียนรู้การประกอบและการติดตั้ง
ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ นำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
1.1 สามารถนำความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาช่วยในการประกอบอาชีพอิสระ เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับตนเอง
1.2 สามารถนำมาใช้เป็นเอกสารช่วยในการประกอบและการติดตั้งระบบ
ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองได้
1.3 ช่วยเสริมสร้างทักษะ ความชำนาญในการประกอบคอมพิวเตอร์
2. อาจารย์ สามารถนำความรู้ที่ได้จาก ชุดการเรียนรู้ประกอบและการติดตั้งระบบ
ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ไปใช้ประโยชน์ดังนี้
2.1 สามารถนำเอกสารงานวิจัยมาเป็นสื่อ ช่วยในเรื่องการเรียนการสอนในชั้นเรียน
ลดภาระการสอนในชั้นเรียน
3. หน่วยงานและองค์กร สามารถนำความรู้ที่ได้จาก ชุดการเรียนรู้ประกอบและการติด
ตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ไปใช้ประโยชน์ดังนี้
3.1 สามารถนำความรู้ที่ได้จากงานวิจัย นำมาจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ พนักงานภายใน
องค์กรเรื่อง การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ได้
3.2 นำความรู้ที่ได้ไปใช้ช่วยเหลือในการซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร
ของตนเอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง



ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตเชิงเนื้อหา
การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ มีขอบเขตเนื้อหา ดังนี้
1. ซีพียู เอเอ็มดี ดูรอน ความเร็ว 1.1 GHz (CPU AMD Duron ) จำนวน 1 ตัว
2. เมนบอร์ดรุ่นACorp 7KMM1 ซ็อคเกต 462 ซาวด์ออนบอร์ด จำนวน 1 ชิ้น
3. การ์ดจอ ชนิด AGP รุ่น Gforce2 MX 400 64MB/TVOUT จำนวน 1 ชิ้น
4. ฮาร์ดดิสก์ ยี่ห้อ Segate ขนาด 40 G จำนวน 1 ตัว
5. แรม ชนิด SDRam ขนาด 256 MB /BUS133 จำนวน 2 ตัว
6. ซีดีรอม ยี่ห้อ Liteon ความเร็ว 52X จำนวน 1 ตัว
7. ดิสก์ไดร์ฟ 1.44 MB ยี่ห้อ Sony จำนวน 1 ตัว
8. เคส บรรจุเมนบอร์ด จำนวน 1 ตัว
9. เพาว์เวอร์ซัฟพลาย 350 Watt จำนวน 1 ตัว

ขอบเขตเชิงประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ จำนวน 6 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ คือ ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
หมายถึง สื่อสำเร็จรูปที่นักศึกษาระดับ ปริญญาตรี ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่สนใจในการ
ประกอบและการติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สามารถนำมาศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยสื่อมีรายละเอียดของเนื้อหาความรู้ และขั้นตอนการเรียนรู้ วิธีการปฏิบัติต่าง ๆ มีภาพประกอบ ผู้ศึกษาสามารถเรียนรู้ และปฏิบัติตามคำแนะนำตามที่ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองกำหนด เพื่อให้ผู้ศึกษาได้สามารถพัฒนาความรู้ ทักษะ การประกอบและการติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

2. ประสิทธิภาพ
หมายถึง คุณภาพของชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง ประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ด้านกายภาพทั่วไป คือ ชุดการเรียนรู้ มีลักษณะการจัดลำดับรูปแบบ
ขั้นตอนต่างๆ รูปภาพที่นำเสนอ มีความชัดเจน ดูง่าย น่าสนใจศึกษา
2.2 ด้านเนื้อหา คือ เนื้อหามีความถูกต้อง การอธิบาย สื่อความหมายชัดเจน
เกิดความเข้าใจง่าย
2.3 ด้านฮาร์ดแวร์ คือ การแสดงภาพและคำบรรยายขั้นตอนประกอบคอมพิวเตอร์ มีความชัดเจน เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้งานได้จริง
2.4 ด้านซอฟต์แวร์ คือ การแสดงภาพและคำบรรยาย ขั้นตอนการตั้งค่า มีความชัดเจน เข้าใจง่าย สามารถติดตั้งโปรแกรมได้จริง
3. การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
หมายถึง การนำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มารวมกันอยู่ภายในตัวกล่องบรรจุอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ และติดตั้งระบบปฏิบัติการเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
4. การติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
หมายถึง การติดตั้งโปรแกรมระบบลงสู่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ประกอบเสร็จแล้ว
เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรับคำสั่งและทำงานได้ตามที่ต้องการ
5. ระบบปฏิบัติการ OS (Operating System)
หมายถึง โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงสุด และสามารถใช้อุปกรณ์ทุกส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์มาทำงานได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นยังเข้ามาช่วยจัดสรรการใช้ทรัพยากรในเครื่องและช่วยจัดการกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญๆ ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเครื่องจะสามารถอ่านไฟล์ต่างๆ หรือสามารถใช้ชอฟต์แวร์ต่างๆได้จะต้องผ่านการดึงระบบปฏิบัติการออกมาฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำก่อน ปัจจุบันนี้มีโปรแกรมระบบอยู่หลายตัวด้วยกัน ซึ่งแต่ละตัวนั้นก็เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการเหมือนกัน

ผู้ติดตาม

ติดตาม