*-*

บทที่ 1

ภูมิหลังและสภาพปัญหา
นโยบายการศึกษาของรัฐบาลต้องการปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้
อันเป็นเงื่อนไขไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ให้คนไทยทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะได้
เรียนรู้และฝึกอบรมได้ตลอดชีวิต และมีปัญญาเป็นทุนไว้สร้างงานและสร้างรายได้ และนำประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ และสังคมโดยยึดหลักการศึกษาสร้างชาติ สร้างคน และสร้างงาน
พัฒนาระบบเทคโนโลยีทางการศึกษาและเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษา ให้คนไทยทั้งในเมืองและชนบท ปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหลักการเรียนรู้ด้วยตนเองและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตเน้นพลัง ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนิสัยให้รักการอ่าน การจัดให้มีห้องสมุดศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และสื่อการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
(คำแถลงนโยบาย ของคณะรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี. 2544 )
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มีการดำเนินการต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ในด้านแนวคิดที่ยึด “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” และให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านตัวคนสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาความยากจน การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้พ้นจากวิกฤต พร้อมไปกับการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง และการสร้างระบบการบริหารจัดการภายในที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกระดับ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9. 2545 – 2549)
คุณภาพการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จะไม่บรรลุผลสำเร็จด้วยดี หากประชาชนการศึกษาอยู่ในระดับต่ำซึ่งในการพัฒนาการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายได้นั้น อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน เช่น ชุดการเรียนรู้ นับเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาการเรียนการสอนให้ไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาการศึกษา มีทักษะและประสบการณ์ในการทำงาน มีความรู้เฉพาะด้านตามศักยภาพเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ( นพรัตน์ เที่ยงตรง. 2533 : 1 )



จากการศึกษาปัญหาและความต้องการใช้สื่อการเรียนการสอนวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม ในสถานศึกษากรมสามัญศึกษา พบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่มีมาก คือ การขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในเรียน ได้แก่ สื่อการเรียนการสอน ชุดการเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นสื่อช่วยในการเรียนการสอน และสื่อชุดการเรียนรู้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ (นพรัตน์ เที่ยงตรง. 2533 : 1) จากสภาพปัญหาด้านจำนวนผู้สอน วัสดุการทดลอง และอุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอต่อการดำเนินการสอน ทำให้การพัฒนาประสิทธิภาพของการเรียนการสอนไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร แนวทางในการแก้ไขปัญหาแนวทางหนึ่งคือ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพโดยใช้ชุดการเรียนรู้ ควบคู่กับการเรียนการสอน ( ลัดดา ศุขปรีดี. 2526 : 137 ) ในการพัฒนาการเรียนการสอนดังกล่าว การสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้เป็นการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบแบบหนึ่ง ซึ่งยึดหลักความแตกต่างของบุคคล เน้นรูปแบบของการเรียนรู้ การจัดเรียนตามความพร้อม สามารถเรียนรู้ได้ตามขีดความสามารถของตนเอง ( ลัดดา ศุขปรีดี. 2526 : 26 )
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ ศึกษาความรู้ความเข้าใจในด้านต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนา ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ใช้เป็นแนวทางช่วยเหลือให้ความรู้ เสริมสร้างทักษะในด้านการประกอบคอมพิวเตอร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เป็นแนวทางในการศึกษาและพัฒนางานวิจัยในอนาคตต่อไปได้

ความมุ่งหมายในการวิจัย
ในงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์
2. เพื่อหาประสิทธิภาพ ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์

ข้อตกลงเบื้องต้น
ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีขอบเขตเนื้อหาดังนี้
1. ระบบปฏิบัติการ Windows XP
2. โปรแกรมสำนักงาน Office XP Thai
3. โปรแกรมป้องกันไวรัส Antivirus McAfee v7.02.Retail
4. โปรแกรมดูภาพ ACDsee 3.1
5. โปรแกรมดูหนัง VCD PowerDVD.XP4.0.1811
6. โปรแกรมฟังเพลง MP3 Winamp
7. โปรแกรมแปลภาษา อังกฤษ-ไทย Pal Thai 2002 Translator v3.2 Register
8. โปรแกรมแปลคำศัพท์ อังกฤษ-ไทย Thaisoft Dictionary 3.0
9. โปรแกรมดูเอกสารจากเวปไซต์ Adobe Acrobat Reader5.1
10. โปรแกรมบีบอัดข้อมูลต่าง ๆ WinZip 8.1

ความสำคัญของการวิจัย
ได้ชุดการเรียนรู้ประกอบและการติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ให้ความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อบุคคลดังต่อไปนี้
1. นักศึกษา สามารถนำความรู้ที่ได้จาก ชุดการเรียนรู้การประกอบและการติดตั้ง
ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ นำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
1.1 สามารถนำความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาช่วยในการประกอบอาชีพอิสระ เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับตนเอง
1.2 สามารถนำมาใช้เป็นเอกสารช่วยในการประกอบและการติดตั้งระบบ
ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองได้
1.3 ช่วยเสริมสร้างทักษะ ความชำนาญในการประกอบคอมพิวเตอร์
2. อาจารย์ สามารถนำความรู้ที่ได้จาก ชุดการเรียนรู้ประกอบและการติดตั้งระบบ
ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ไปใช้ประโยชน์ดังนี้
2.1 สามารถนำเอกสารงานวิจัยมาเป็นสื่อ ช่วยในเรื่องการเรียนการสอนในชั้นเรียน
ลดภาระการสอนในชั้นเรียน
3. หน่วยงานและองค์กร สามารถนำความรู้ที่ได้จาก ชุดการเรียนรู้ประกอบและการติด
ตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ไปใช้ประโยชน์ดังนี้
3.1 สามารถนำความรู้ที่ได้จากงานวิจัย นำมาจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ พนักงานภายใน
องค์กรเรื่อง การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ได้
3.2 นำความรู้ที่ได้ไปใช้ช่วยเหลือในการซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร
ของตนเอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง



ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตเชิงเนื้อหา
การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ มีขอบเขตเนื้อหา ดังนี้
1. ซีพียู เอเอ็มดี ดูรอน ความเร็ว 1.1 GHz (CPU AMD Duron ) จำนวน 1 ตัว
2. เมนบอร์ดรุ่นACorp 7KMM1 ซ็อคเกต 462 ซาวด์ออนบอร์ด จำนวน 1 ชิ้น
3. การ์ดจอ ชนิด AGP รุ่น Gforce2 MX 400 64MB/TVOUT จำนวน 1 ชิ้น
4. ฮาร์ดดิสก์ ยี่ห้อ Segate ขนาด 40 G จำนวน 1 ตัว
5. แรม ชนิด SDRam ขนาด 256 MB /BUS133 จำนวน 2 ตัว
6. ซีดีรอม ยี่ห้อ Liteon ความเร็ว 52X จำนวน 1 ตัว
7. ดิสก์ไดร์ฟ 1.44 MB ยี่ห้อ Sony จำนวน 1 ตัว
8. เคส บรรจุเมนบอร์ด จำนวน 1 ตัว
9. เพาว์เวอร์ซัฟพลาย 350 Watt จำนวน 1 ตัว

ขอบเขตเชิงประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ จำนวน 6 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ คือ ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
หมายถึง สื่อสำเร็จรูปที่นักศึกษาระดับ ปริญญาตรี ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่สนใจในการ
ประกอบและการติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สามารถนำมาศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยสื่อมีรายละเอียดของเนื้อหาความรู้ และขั้นตอนการเรียนรู้ วิธีการปฏิบัติต่าง ๆ มีภาพประกอบ ผู้ศึกษาสามารถเรียนรู้ และปฏิบัติตามคำแนะนำตามที่ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองกำหนด เพื่อให้ผู้ศึกษาได้สามารถพัฒนาความรู้ ทักษะ การประกอบและการติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

2. ประสิทธิภาพ
หมายถึง คุณภาพของชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง ประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ด้านกายภาพทั่วไป คือ ชุดการเรียนรู้ มีลักษณะการจัดลำดับรูปแบบ
ขั้นตอนต่างๆ รูปภาพที่นำเสนอ มีความชัดเจน ดูง่าย น่าสนใจศึกษา
2.2 ด้านเนื้อหา คือ เนื้อหามีความถูกต้อง การอธิบาย สื่อความหมายชัดเจน
เกิดความเข้าใจง่าย
2.3 ด้านฮาร์ดแวร์ คือ การแสดงภาพและคำบรรยายขั้นตอนประกอบคอมพิวเตอร์ มีความชัดเจน เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้งานได้จริง
2.4 ด้านซอฟต์แวร์ คือ การแสดงภาพและคำบรรยาย ขั้นตอนการตั้งค่า มีความชัดเจน เข้าใจง่าย สามารถติดตั้งโปรแกรมได้จริง
3. การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
หมายถึง การนำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มารวมกันอยู่ภายในตัวกล่องบรรจุอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ และติดตั้งระบบปฏิบัติการเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
4. การติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
หมายถึง การติดตั้งโปรแกรมระบบลงสู่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ประกอบเสร็จแล้ว
เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรับคำสั่งและทำงานได้ตามที่ต้องการ
5. ระบบปฏิบัติการ OS (Operating System)
หมายถึง โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงสุด และสามารถใช้อุปกรณ์ทุกส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์มาทำงานได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นยังเข้ามาช่วยจัดสรรการใช้ทรัพยากรในเครื่องและช่วยจัดการกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญๆ ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเครื่องจะสามารถอ่านไฟล์ต่างๆ หรือสามารถใช้ชอฟต์แวร์ต่างๆได้จะต้องผ่านการดึงระบบปฏิบัติการออกมาฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำก่อน ปัจจุบันนี้มีโปรแกรมระบบอยู่หลายตัวด้วยกัน ซึ่งแต่ละตัวนั้นก็เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการเหมือนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำกันได้เลยค่ะ รับฟังความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

ติดตาม