*-*

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยและคณะได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้นำเสนอตามลำดับ ดังนี้
1. ชุดการเรียนรู้
2. ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
3. การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
4. การติดตั้งระบบปฏิบัติการและโปรแกรมระบบ
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.ชุดการเรียนรู้
ลัดดา สุขปรีดี (2532 : 32) กล่าวว่า ชุดการเรียนรู้ หมายถึง การรวบรวมสื่อการ
สอนสำเร็จรูปโดยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคลได้ตามความสะดวก เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
วาสนา ชาวหา (2522 : 32) กล่าวว่า ชุดการเรียนรู้ หมายถึง การวางแผนสื่อการ
เรียนการสอนโดยใช้สื่อต่าง ๆ ร่วมกัน (Multimedia Approach) หรือหมายถึง การใช้สื่อประสม (Multi Media) เพื่อสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางและเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
กาญจนา เกียรติประวัติ (2524 : 174-176) ให้ความหมายของชุดการเรียน (Learning Package) ว่าเป็นระบบการผลิตและนำสื่อการเรียนต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับเนื้อหามาส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้สื่อต่าง ๆ ในชุดการเรียนเพื่อศึกษาตนเองโดยครูจะมีบทบาทน้อยลง เป็นการส่งเสริมการเรียนด้วยตนเองตามลำพัง และสามารถนำไปประกอบการเรียนซ่อมเสริมด้วยตนเองได้ เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบของผู้เรียน




วีระ ไทยพานิช (2529 : 134) กล่าวว่า ชุดการเรียนมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น
ชุดการสอนรายบุคคล และชุดการเรียนเบ็ดเสร็จ ซึ่งเป็นสื่อประสมที่ที่แตกต่างกันออกไปส่วนมากจะประกอบไปด้วยคำชี้แจงหัวข้อ จุดมุ่งหมาย การประเมินผล
จากเอกสารข้างต้น สรุปได้ว่า ชุดการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมสื่อการเรียนการสอนหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีการพัฒนา ความรู้ความเข้าใจตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

2. ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีขอบเขตเนื้อหาดังนี้
2.1 ประวัติความเป็นมา
2.2 ความหมายของคอมพิวเตอร์
2.3 องค์ประกอบในการทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
2.4 ส่วนประกอบของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware)
2.5 ส่วนประกอบของคำสั่ง โปรแกรม (Software) และ บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
2.1 ประวัติความเป็นมา
เครื่องคอมพิวเตอร์นับได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีความสลัลซับซ้อนที่มีความสามารถมากมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ เราจึงเรียกกันว่าเป็นยุคคอมพิวเตอร์ ที่จริงแล้วคอมพิวเตอร์มีการเริ่มต้นในปี คศ. 1944 ซึ่งถือว่าเป็นปีที่มีการผลิตคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแรก มนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องมีการประมวลผลมาตั้งแต่ในอดีต มนุษย์เริ่มมีการใช้ลูกคิด (Abacus) ซึ่งถือเป็นเครื่องนับชิ้นแรกในโลก แต่ก่อนที่จะใช้เครื่องคิดเลข มนุษย์รู้จักการนับ โดยเริ่มตั้งแต่ใช้นิ้วมือ ต่อมาก็ใช้เศษไม้ ก้อนหินมาช่วย จากก้อนหินก็มีวิวัฒนาการมาใช้ก้อนหินที่มีขนาดเล็กลง ขนาดเท่ากับลูกปัด แล้วนำมาร้อยเป็นพวงเก็บไว้ ต่อมาก็เกิดความคิดในการทำเป็นบอร์ดสี่เหลี่ยมที่มีลูกปัดร้อยไว้เพื่อใช้ในการนับ จนกระทั้งมีการประดิษฐ์เป็นลูกคิดขึ้นมา ซึ่งลูกคิดนี้ได้มีการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือนับที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใช้เป็นอันดับแรกในโลก
ต่อจากสมัยนั้นมา มนุษย์ก็มีการประดิษฐ์เครื่องนับขึ้นมาอีกมากมาย เพื่อช่วยผ่อนแรงสมองในการจำตัวเลขต่างๆ เช่น จอห์น เนเปียร์ (John Napier) ชาวสก๊อตได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขที่เรียกว่า เนเปียร์สโบนส์ (Napier’s Bones ) ขึ้นในปี คศ.1617 และเฮนรี่ บริกส์ (Henry Briggs) ได้คิดค้นแบบคำนวณตารางลอกการึทึม และเอ็ดมันต์ กันเตอร์ (Edmund Gunter) ได้นำค่าลอการึทึมของเนเปียร์มาแกะลงไม้บรรทัด ต่อมาในปี คศ.1700 วิลเลียม ออกเทรด (William Aughtred) ได้นำความคิดของ กันเตอร์ มาปรับปรุงเป็น สไลด์รูล จึงนับได้ว่า สไลด์รูลเป็นคอมพิวเตอร์อนาลอกเครื่องแรกของโลก
ในปี คศ. 1642 เบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกเลขขึ้นมาโดยมีเฟืองหมุน เมื่อบวกเลขหลักแรกแล้วได้ผลเกินสิบ ก็จะทดให้เฟืองตัวที่อยู่ทางซ้ายขยับไปที่หนึ่งเหมือนกับวิธีการใช้หลักหน่วย สิบ ร้อย พัน ในปัจจุบัน สำหรับเครื่องมือชิ้นนี้เรียกกันว่า ปาสกาลีน (Pascaline) ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องบวกเลขเครื่องแรกของโลก
ในปี คศ. 1673 ไลบิทซ์ (Gottfried von Leibnitz) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันได้ออกแบบเครื่องคำนวณ ซึ่งสามารถคูณได้ และค้นพบเลขฐานสองซึ่งเป็นความคิดในการนำไปสร้างเป้นเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อมา
สำหรับเครื่องคำนวณที่ทั้งสองได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมานั้น ยังไม่ถือว่าสมบูรณ์มากนัก เพราะยังมีจุดบกพร่องอยู่ อีกหลายปีต่อมาจึงมีนักวิศวกรได้หันมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น นอกจากจะมีเครื่องคำนวณดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีสิ่งประดิษฐ์ที่ถือว่าเป็นการบุกเบิกให้มีการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อีก 2 อย่าง คือ การใชระบบบัตรเจาะรูควบคุมงานของเครื่องทอผ้าอัตโนมัติ ซึ่งประดิษฐ์โดยโจเซฟ มารี แจคการ์ด (Joseph – Marie Jacquard) นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์บัตรเจาะรูเพื่อควบคุมการทอผ้าให้เป็นลายต่างๆ ซึ่งต่อมาได้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางส่วนสิ่งประดิษฐ์อีกชิ้นหนึ่ง คือ เครื่องมือสำหรับคำนวณตารางคณิตศาสตร์ ซึ่งสร้างโดย ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charies Babbage) ในปี คศ. 1812 และ 1822 มีชื่อเรียกว่า ดิฟเฟอเรนส์ เอนจิน (Difference Engine) ซึ่งมีฟังก์ชั่นทางตรีโกณมิติต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ ต่อมาในปี คศ. 1871 แบบเบจได้สร้างเครื่องจักรกลแบบแรกของเครื่องคำนวณอัตโนมัติที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน เครื่องมือชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า อนาลิติคัล เอนจิน (Analytical Engine) ซึ่งมีชิ้นส่วนสำคัญทุกชิ้นเหมือนกับเครื่องดิจิตอลคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ คือ จะมีหน่วยรับส่งข้อมูล หน่วยควบคุม และหน่วยความจำ โดยจะใช้บัตรเจาะรูเป็นส่วนในการรับและแสดงผลข้อมูล
ในปี คศ. 1894 เอช ฮอลเลอริช (H. Hollerith) นักสถิติชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เอกสารในการบันทึกหน่วยที่เครื่องจักรกลจะอ่านขึ้นมา โดยใช้เครื่องกลไกทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อติดต่อ ซึ่งสามารถอ่านข้อความ จำแนกข้อความ และบันทึกผลลงบนบัตรเจาะรูได้ซึ่งผลงานของ ฮอลเลอริช นั้นได้ถูกนำมาเป็นพื้นฐานในการผลิตคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆด้วย ต่อมาในปลายปี 1944 โฮเวิร์ด อายเคน (Howard Aiiken) ได้ออกแบบเครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ขึ้นมา ซึ่งเครื่องคำนวณนี้สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ทุกแบบ และนอกจากนั้นยังได้สร้างเครื่องที่เป็น Automatic Sequence Controlled Calculator มีชื่อว่า มาร์ค วัน (Mark l) ขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก ที่ใช้ไฟฟ้าแบบกึ่งไฟฟ้า กึ่งเครื่องกล การส่งข้อมูลเข้าไปในเครื่องจะใช้เทปกระดาษเจาะรู เครื่องมาร์ควัน นี้ มีข้อเสียที่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ และทำงานได้ค่อนข้างช้า จึงทำให้ผลิตงานได้น้อยมากถ้าเทียบกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ในปี คศ. 1946 ดร.เจ เอคเกิท ( J. Eckert) และ จอห์น มอชลีย์ (John Mauchly) จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรก มีชื่อว่า อีนิ แอ็ก (ENIAC) ซึ่งย่อมาจาก Electronic Numerical Integrator and Calculator ใช้หลอดสูญญากาศ 18,000 หลอด สามารถบวกเลขได้ 5,000 ครั้งต่อวินาที ซึ่งถือว่ารวดเร็วมาก นอกจากนั้นการคูณและหารก็สามารถทำได้รวดเร็วเช่นเดียวกัน แต่ตัวเครื่องก็ยังมีขนาดใหญ่อยู่เหมือนเดิม
ในปี คศ. 1946 ดร.จอห์น ฟอน นอยมานน์ (Dr. John von Neumann) ได้ปรับปรุงให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามรถเก็บโปรแกรม เปลี่ยนแปลงข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูลได้เป็นเครื่องแรกโดยมีชื่อว่า เอ็ดแว็ก (EDVAC) ซึ่งย่อมาจาก Electronic Discrete Variable Automatic Computer ในเวลาต่อมา เอ็ม วิลคส์ (M. Wilkes ) จากประเทศอังกฤษได้สร้างเครื่องจักร ชื่อว่า เอ็ดแซ็ก (EDSAC) ย่อมาจาก Electronic Delay Storage Automatic Calculator ในปี คศ. 1949 ในปี คศ. 1954 มอชลีย์ และเอคเกิท ได้ร่วมกันสร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใหม่ ชื่อ (UNIVAC) ย่อมาจาก Universal Automatic Computer ซึ่งนับว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในท้องตลาดสามารถใช้เทปแม่เหล็กเป็นสื่อเก็บข้อมูลได้
สำหรับในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้รับความสนใจในการทำงานค่อนข้างมาก จึงทำให้มีผู้คิดพัฒนาให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงมาจากเดิม อีกทั้งยังเพิ่มความเร็วในการทำงานให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้นมีข้อบกพร่องในการทำงานน้อย และที่สำคัญคือราคาต้องถูกด้วย
2.1.1 ยุคของคอมพิวเตอร์
หลังจากที่คอมพิวเตอร์ได้รับความสนใจมากขึ้น และมีกลุ่มผู้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมาอีกหลายกลุ่ม ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น และความต้องการในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานก็เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นจึงทำให้เกิดมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเห็นได้จากขนาดของตัวเตรื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงมาแต่มีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น เร็วขึ้นกว่าเดิม นอกจากนั้นยังมีราคาถูกลงอีกด้วย เพราะใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำลง สำหรับความเป็นมาของคอมพิวเตอร์นั้นมีผู้แบ่งยุคของคอมพิวเตอร์ตามวิวัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ออกเป็น 4 ยุคด้วยกัน ดังนี้




ก ) ยุคที่ หนึ่ง (First Generation) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ คศ. 1944 เป็นต้นมา หรือประมาณปี พ.ศ. 2494 – 2502 เทคโนโลยีที่ใช้สร้างคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะใช้หลอดสูญญากาศ และวงจรไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้พลังความร้อนในขณะทำงานสูง ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงมีขนาดใหญ่และต้องใช้เครื่องปรับอากาศมาช่วยในการระบายความร้อน นอกจากนั้นยังมีการใช้เทปกระดาษหรือบัตรเจาะรูในการรับส่งข้อมูล สำหรับปัญหาที่เกิดในยุคนี้จะเป็นปัญหาด้านการบำรุงรักษา และการซ่อมแซมเครื่องเพื่อให้เครื่องสามารถทำงานได้ นอกจากนั้นการใช้คำสั่งในการสั่งงานก็ค่อนข้างยาก เพราะส่วนมากแล้วในการทำงานต้องสั่งงานโดยใช้ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งจะถือเป็นภาษาระดับต่ำ รหัสคำสั่งต่างๆ จะจดจำค่อนข้างยาก การใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นงานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ส่วนงานทางด้านธุรกิจมีการเริ่มใช้ในยุคนี้เช่นกัน แต่มีการใช้ที่ค่อนข้างน้อย
ข ) ยุคที่สอง (Second Generation) ยุคนี้เริ่มในปี คศ. 1957 หรือประมาณปี พ.ศ. 2502 –2507 ในยุคนี้ได้มีการริเริ่มนำเอาทรานซิสเตอร์ (Transistor) และไดโอด (Diodes) มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ ซึ่งมีขนาดเล็ก มีราคาถูกลงและทำงานได้เร็วขึ้น ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์จึงเล็กตามลงไปด้วย ในการทำงานจะใช้วงแหวนแม่เหล็ก สำหรับเก็บข้อมูลและใช้เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูล นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มอุปกรณ์ในการรับข้อมูล และอุปกรณ์ในการแสดงผลลัพธ์อีกมากมาย มีการใช้เครื่องพิมพ์ จานแม่เหล็ก บัตรเจาะรู จอภาพ และแป้นพิมพ์เป็นเครื่องปลายทางในยุคนี้ได้เปลี่ยนจากการสั่งงานด้วยภาษาเครื่องเป็นการใช้สัญลักษณ์แทนจึงทำให้การสั่งงานง่ายขึ้นและมีภาษาระดับสูงบางภาษาเกิดขึ้นในยุคนี้เช่นกัน
ค ) ยุคที่สาม (Third Generation) เริ่มในปี คศ.1965 ในยุคนี้มีการนำเอาวงจรผนึกมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ ทำให้คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็กลงไปอีก ความเร็วก็สูงขึ้นและราคาก็ลดลงไปอีก มีการพัฒนาโปรแกรมกว้างขวางขึ้น และมีการเริ่มใช้ภาษาระดับสูงมาช่วยในการเขียนโปรแกรม จึงมีหลายบริษัทเริ่มผลิตโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ในการทำงาน
4.ยุคที่ สี่ (Fourth Generation) เริ่มตั้งแต่ปี คศ. 1976 มีการนำเอาแผงวงจรรวมมาใช้แทนวงจรผนึก และมีการปรับปรุงอุปกรณ์อื่นๆ ให้มีความสามารถสูงขึ้น จึงทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนหน่วยความจำจากวงแหวนแม่เหล็กมาเป็นหน่วยความจำสารกึ่งตัวนำ มีการผลิตไมโครโพรเซสเซอร์ขึ้นทำให้มีการสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer) และ ขนาดเล็ก(Microcomputer)ขึ้นมาขายเพื่อความเหมาะสมในการใช้งานในแต่ละประเภทในยุคนี้มีประชาชนสนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น ทำให้มีการใช้อย่างแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ นายแพทย์ นักธุรกิจ เป็นต้น

2.1.2 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จะพบว่าคอมพิวเตอร์ได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และทางด้านซอฟต์แวร์ เพื่อให้ทันสมัยและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านฮาร์ดแวร์นั้นได้มีวิวัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงดังนี้
ปี คศ. 1981 ได้ผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นไอบีเอ็มพีซีขึ้น โดยบริษัทอินเทล ในรุ่นนี้ใช้ CPU เบอร์ 8088 ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของเครื่องพีซีในปัจจุบัน ปี คศ. 1982 ได้พัฒนาเป็นรุ่นไอบีเอ็มพีซีเอ็กซ์ที (IBM PC/XT) มีการออกแบบวงจรภายในใหม่ ให้มีขนาดเล็กและทำงานรวดเร็วขึ้น แต่ยังคงใช้ CPU เบอร์ 8088 ของอินเทล เครื่องรุ่นนี้สามารถติดตั้งฮาร์ดดิสก์ได้ถึง 10 เมกกะไบต์ และสำหรับการเก็บข้อมูลในฟลอปปีดิสก์ได้มีการเปลี่ยนไปจากเดิม คือ 8 เซกเตอร์ต่อแทรก เป็น 9 เซกเตอร์ต่อแทรก ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นเป็น 360 กิโลไบต์ ปี คศ. 1985 ได้พัฒนาเป็นรุ่นไอบีเอ็มพีซีเอที (IBM PC/AT) ในรุ่นนี้ได้เปลี่ยนไปใช้ CPU เบอร์ 80286 ซึ่งเป็นตัวใหม่ของบริษัทอินเทล ในการเก็บข้อมูลก็มีการเพิ่มฮาร์ดดิสก์ ให้มีความจุเพิ่มขึ้นเป็น 20 เมกะไบต์ ฟลอปปีดิสก์ก็สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 1.2 เมกกะไบต์ ทำให้มีประสิทธิภาพสูงและทำงานเร็วกว่ารุ่นไอบีเอ็มเอ็กซ์ที ปี คศ. 1987 บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์รุ่น PS/2 ในรุ่นนี้ฮาร์ดดิสก์จะมีความจุมากขึ้น ฟลอปปีดิสก์ก็เพิ่มความจุจากเดิม 720 กิโลไบต์ เป็น 1.44 เมกกะไบต์ และเปลี่ยนเป็นแผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว ปี ต่อมา ได้พัฒนาเป็นเครื่องที่ใชไมโครโพรเซสเซอร์เบอร์ 80386 ของอินเทล ซึ่งมีขนาด 32 บิต และมีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องเอทีมาก แต่ก็มีปัญหาหนึ่งของเครื่อง 386 คือระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นที่ผ่านมาถูกพัฒนาขึ้นมาบนเครื่องพีซีธรรมดาเท่านั้น โปรแกรมเหล่านั้นจึงไม่สามารถใช้ความสามารถของซีพียู 80386 ได้เต็มที่นักจะมีก็แต่ความเร็วที่สูงขึ้นเท่านั้น ต่อจากนั้นได้พัฒนาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 486 เครื่องพีซีรุ่นนี้ อาจจะเรียกใหม่เป็น ซูเปอร์ไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากในตระกูลนี้มีความสามารถที่เทียบเท่ากับเวิร์กสเตชั่น หรือมินิคอมพิวเตอร์บางรุ่น และในรุ่นนี้มีความเร็วสู่งกว่ารุ่น 80386 มาก สำหรับการทำงานเป็นการทำงานแบบ 32 บิต ปัจจุบัน บริษัท อินเทล ได้พัฒนาเครื่องพีซี586 (Pentium)ขึ้นมาเพื่อการใช้งานกับแอพพลิเคชั่นบนวินโดวส์โดยเฉพาะและรองรับความเร็วของพีซียูได้สำหรับในปัจจุบันรุ่นนี้เป็นรุ่นที่กำลังได้รับความนิยมในการทำงานค่อนข้างสูง





2.2 ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยผ่อนแรงสมองของมนุษย์ได้โดยจะทำตามคำสั่งที่ป้อนลงไป สำหรับคำว่าคอมพิวเตอร์นั้นมีผู้นำมาแปลเป็นภาษาไทยไว้หลายคำ เช่น เครื่องจักรประมวลผล เครื่องคณิตกลจักร เครื่องคณนาสมองกล เครื่องประมวลผลอัตโนมัติ แต่ไม่มีคำใดเป็นที่ยอมรับ จึงได้ใช้คำว่า “คอมพิวเตอร์” เป็นคำทับศัพท์ในภาษาไทยตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา แต่ในปี 2529 ทางราชบัณฑิตยสถาน ได้บัญญัติคำแปลของ “ คอมพิวเตอร์ ” ว่า “ คณิตกรณ์ ”
2.2.1 คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
จากการที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลายนั้นย่อมหมายถึงว่า คอมพิวเตอร์จะต้องมีคุณสมบัติที่เด่น และมีประโยชน์ในการทำงาน จึงทำให้คอมพิวเตอร์มีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของเรามาก สำหรับคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์นั้นมีดังต่อไปนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำกันได้เลยค่ะ รับฟังความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

ติดตาม