*-*

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

ความมุ่งหมายในการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
2. เพื่อหาประสิทธิภาพ ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์

สมมุติฐานในการวิจัย
ชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูง

วิธีการดำเนินงานวิจัย
วิธีการดำเนินงานวิจัยมีลำดับขั้นตอนนำเสนอ ดังนี้
1. ศึกษาเอกสารชุดการเรียนรู้
2. การออกแบบและพัฒนาชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3. สร้างแบบประเมินประสิทธิภาพและชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
หาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
โดยใช้ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean ; ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation ; )




สรุปผลการวิจัย
1. สถานภาพทั่วไปของผู้เชี่ยวชาญเป็นเพศชาย ทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 100.00 ส่วนใหญ่มีอายุ 26-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 83.33 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท คิดเป็นร้อยละ 66.67ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 66.67 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ มากกว่า 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 66.67
2. ประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
โดยรวมอยู่ในระดับ สูงมาก (μ = 4.62 , = 0.34) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
ด้านกายภาพทั่วไป มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ สูง (μ = 4.50 , = 0.86)
ด้านเนื้อหา มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ สูงมาก (μ = 4.51, = 0.57)
ด้านฮาร์ดแวร์ มีประสิทธิภาพอยู่ใน สูงมาก (μ = 4.77 , = 0.42)
ด้านซอฟต์แวร์ มีประสิทธิภาพอยู่ใน สูงมาก (μ = 4.73 , = 0.48)

อภิปรายผลการวิจัย
1. ประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้การประกอบและการติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก สูงกว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชุดการเรียนรู้มีเนื้อหาและรูปภาพ ชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย และนำไปปฏิบัติได้ แสดงว่าชุดการเรียนรู้สามารถใช้งานได้จริง จากผลการวิจัยครั้งนี้ยังพบว่าชุดการเรียนรู้ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงมาก ซึ่งสอดคล้องกับ ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิทยานิพนธ์ของ นิติธาร ชูทรัพย์ (2544 : 162) ที่สร้างและหาประสิทธิภาพใบงานเรื่องการประกอบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และการติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบ ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับดี และสอดคล้องกับผลงานปริญญานิพนธ์ของ เชษฐา บุญชวลิต (2540 : 100) ที่สร้างชุดการเรียนด้วยตนเองเรื่องการใช้เครื่องมือวัดไฟฟ้า ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพรวมของชุดการเรียนด้วยตนเอง เท่ากับ 91.12/88.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 85/85
2. ประสิทธิภาพด้านกายภาพทั่วไป มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านเนื้อหา ด้านฮาร์ดแวร์ และด้านซอฟต์แวร์ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูงมาก สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ชุดการเรียนรู้มี เนื้อหา รูปภาพกับข้อความบรรยายมีการเรียงขั้นตอนได้เหมาะสม กระทัดรัด เข้าใจง่าย น่าสนใจ นำไปปฏิบัติงานได้ การวิจัยยังพบว่า สอดคล้องกับผลงาน วิทยานิพนธ์ของ นิติธาร ชูทรัพย์ (2544 : 162) ที่สร้างและหาประสิทธิภาพใบงานเรื่องการประกอบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และการติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบ ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับดีและสอดคล้องกับผลงานปริญญานิพนธ์ของ เชษฐา บุญชวลิต (2540 : 100) ที่สร้างชุดการเรียนด้วยตนเองเรื่องการใช้เครื่องมือวัดไฟฟ้า ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพรวมของชุดการเรียนด้วยตนเอง เท่ากับ 91.12/88.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ มาตรฐานที่กำหนด 85/85

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย
1. ในการสร้างชุดการเรียนรู้ควรเลือกเนื้อหาที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ง่าย และใน
แต่ละเรื่องควรมีเนื้อหาที่กระชับไม่ซับซ้อนมากเกินไป
2. ชุดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น ควรเพิ่มสีสรรลงในภาพประกอบเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ
ของชุดการเรียนรู้
3. ในการนำชุดการเรียนรู้ไปเป็นคู่มือประกอบการสอน ควรให้คำแนะนำควบคู่ไปกับการใช้ชุดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในขณะปฏิบัติจริง จะช่วยให้ประสิทธิภาพการประกอบเครื่องสำเร็จสูงยิ่งขึ้น
4. ควรนำเนื้อหาชุดการเรียนรู้จากงานวิจัย ไปพัฒนาเพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ การประกอบและติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำกันได้เลยค่ะ รับฟังความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

ติดตาม