*-*

ทฤษฎีสี (Color Theory)

ทฤษฎีสี (Color Theory)
2.5.1 คุณลักษณะเฉพาะของสี
2.5.1.1 วรรณะ (Hue)
วรรณะ คือ คุณสมบัติที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสีว่าเป็นสีใดสีหนึ่ง เช่น สีหนึ่งแตกต่าง
จากสีเขียว หรือสีม่วงแตกต่างไปจากสีเหลือง โดยไม่คำนึงถึงน้ำหนักอ่อนแก่และความเข้มของสีแต่
ประการใด เพราะความเป็นวรรณะ (Hue) จะคงเดิมเสมอ เช่น สีชมพูคือสีหนึ่งของสีแดง เป็นต้น ดังแสดง
ดังรูปที่ 2.14 สี แยกออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
- Chromatic Colors คือ สีที่มีวรรณะของสี (Hue) ผสมอยู่ สามารถจำแนกออกเป็น สีเขียว
สีแดง สีเหลือง ฯลฯ ได้แน่ชัด
- Achromatic Colors คือ สีที่ไม่มีวรรณะของสี (Hue) ผสมอยู่ สามารถจำแนกเป็นน้ำหนักอ่อน
เข้ม ได้แก่ สีขาว สีเทา และสีดำ
2.5.1.2 ความเข้มของสี ( Chrome หรือ Intensity หรือ Saturation )
ความเข้มของสี คือคุณสมบัติที่เกี่ยวความสด ( Brightness ) เช่น สีแดงเป็นสีที่สดที่สุด หรือความ
หม่น ( Dullness ) ที่เกิดขึ้นเพราะมีการผสมกับสีตรงข้าม ( Contrast ) ทำให้ความสดใสของน้อยลง เช่น สี
ม่วงเจือลงในสีเหลืองเป็นต้น
2.5.1.3 คุณค่าของสี (Tonal Value)
คุณค่าของสี คือ คุณสมบัติที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำหนักอ่อนแก่ ( Lightness Darkness ) เพื่อใช้
เปรียบเทียบค่าของสีที่แตกต่างกันของสีทุกสี เช่น สีชมพูคือน้ำหนักอ่อนของสีแดง สีน้ำตาลคือน้ำหนักแก่
ของสีส้ม สีครีมคือน้ำหนักอ่อนของสีเหลือง ฯลฯ โดยมีสีขาวเป็นสีอ่อนที่สุด สีดำเป็นสีที่แก่ที่สุด ระหว่างสี
13
ขาวถึงสีดำ จะมีสีเทาอีก 7 น้ำหนัก มีน้ำหนักที่ 5 เป็นน้ำหนักกลาง ( Middle Value ) ดังนั้น ถ้าต้องการให้
สีใดสีหนึ่งแก่ยิ่งขึ้นก็ผสมสีดำ สีเข้มที่เกิดขึ้นจะมีน้ำหนักกลางเรียกว่า Shade

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำกันได้เลยค่ะ รับฟังความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

ติดตาม